พอร์ตแตก คือ อะไร หมายความว่าอย่างไรในตลาด Forex

IUX Markets Bonus

พอร์ตแตก คืออะไร

พอร์ตแตก คือ สถานการณ์ที่พอร์ตลงทุนติดลบและเทรดเดอร์ไม่มีหลักประกันมากพอจะจ่ายส่วนที่ติดลบ การล้างพอร์ท หรือ พอร์ตแตก ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Margin Call หรือการร้องขอให้เติมเงินเพิ่มเพื่อรักษา Margin ไม่เช่นนั้น ออเดอร์ที่เปิดไว้

สำหรับการล้างพอร์ตในตลาด Forex กับตลาด Futures มีความเหมือนกันเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Leverage เช่นเดียวกัน ซึ่งมีการวางหลักประกันที่เรียกว่า Margin คือเงินประกัน Margin จะถูกใช้ในการถือออเดอร์ติดลบ ซึ่งเรียกว่า Free Margin โดยที่ Free Margin จะต่ำกว่า % ที่กำหนดไม่ได้ โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ กำหนด % Free Margin ไว้ที่ 50 % เพื่อป้องกันผลขาดทุนติดลบ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ผลขาดทุนรวมมากจน Free Margin เหลือน้อยจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้

Margin Call คืออะไร
Margin Call คืออะไร
  • โบรกเกอร์จึงบังคับปิดออเดอร์อัตโนมัติเพราะหลักประกันไม่พอจ่ายส่วนที่ติดลบ
  • บัญชีเทรดโดน Margin Call
  • เงินลงทุนเป็น 0 บาท หรือ เหลือน้อยจนเปิดออเดอร์ ลงทุนใหม่ไม่ได้แล้ว
  • เงินหลักประกันในการเทรดของเทรดเดอร์หมดเกลี้ยง

การล้างพอร์ท จะใช้ในภาษา Forex แต่ว่าในตลาดหุ้นไทย การล้างพอตจะมีความแตกต่างกัน เพราะว่าการล้างพอทในตลาดหุ้นไทย มันคือการ ขายหุ้นทิ้งทั้งหมดเพื่อทำการปรับพอทลงทุนใหม่ ล้างพอร์ต จึงมีความหมายแตกต่างกันในการลงทุน 2 กลุ่ม

 

Margin Call คืออะไร

 

Margin Call ในตลาด Forex มีลักษณะคล้ายกับในตลาด futures แต่มีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้:

  1. ความหมาย: ใน Forex, Margin Call เกิดขึ้นเมื่อเงินในบัญชีของนักเทรดไม่เพียงพอที่จะรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากสถานะที่เปิดอยู่
  2. มาร์จิ้นในตลาด Forex:
  • Used Margin: จำนวนเงินที่ถูกใช้เป็นหลักประกันสำหรับการเปิดสถานะ
  • Free Margin: เงินที่เหลือในบัญชีที่สามารถใช้เปิดสถานะใหม่ได้
  • Equity: มูลค่ารวมของบัญชี รวมกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่ได้ปิดสถานะ
  1. วิธีการคำนวณ: โบรกเกอร์ Forex จะคำนวณ Margin Level โดยใช้สูตร: Margin Level = (Equity / Used Margin) x 100%
  2. ระดับ Margin Call: เมื่อ Margin Level ลดลงถึงระดับที่กำหนด (เช่น 100% หรือ 50% ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์) จะเกิด Margin Call
  3. ผลกระทบ:
  • Margin Call Warning: โบรกเกอร์จะแจ้งเตือนให้นักเทรดเพิ่มเงินในบัญชี
  • Stop Out: หากไม่มีการเพิ่มเงิน และ Margin Level ลดลงถึงระดับ Stop Out (เช่น 50% หรือ 20%) โบรกเกอร์จะเริ่มปิดสถานะอัตโนมัติ
  1. ความแตกต่างจากตลาดหุ้น:
  • ความเร็ว: ตลาด Forex เคลื่อนไหวเร็วกว่า Margin Call จึงอาจเกิดขึ้นรวดเร็วกว่า
  • เวลาทำการ: ตลาด Forex เปิด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ทำให้ต้องระวัง Margin Call ตลอดเวลา
  • Leverage: Forex มักใช้ Leverage สูงกว่า ทำให้ความเสี่ยงของ Margin Call สูงขึ้น
  1. การป้องกัน:
  • ใช้ Stop Loss เพื่อจำกัดความเสียหาย
  • ไม่ใช้ Leverage สูงเกินไป
  • รักษาระดับ Free Margin ให้เพียงพอ
  • ติดตามสถานะบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
HFM Market Promotion

 

ล้างพอร์ต คือ อะไร

ในตัวอย่าง เงิน 1 หมื่นบาท จะซื้อ 2 แสนบาท ต้องใช้ Leverage 1:20 หมายความว่าจะซื้อได้ 100 หุ้น ถ้าราคาหุ้น เคลื่อนไหวครั้งละ 100 บาท คือ จากราคา 2,000 บาท ลดเหลือ 1,900 บาท จะเท่ากับ ขาดทุน 100 x 20 = 2,000 บาท การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 100 บาทจะส่งผลต่อการลดลงของมูลค่าพอร์ทที่มีแค่ 10,000 บาททีละ 2,000 บาท ทำให้เมื่อราคาหุ้น ลดลงเหลือ 1,500 บาทจะโดน Margin Call หรือ ล้างพอร์ททันที เพราะผลขาดทุนรวมมันคือ 10,000 บาท นั่นเอง

Margin Call หรือ ล้างพอร์ททันที

แต่อย่างไรก็ตาม การล้างพอร์ต จะไม่ได้นับที่ Equity ของเราเหลือ 0 แต่ละ Broker จะมีเงื่อนไขการล้างพอร์ตแตกต่างกัน เช่น บางโบรกเกอร์ จะให้ Equity เหลือ 50 % ก็จะถึงเงื่อนไข Margin call ถ้าต่ำกว่านี้ก็จะล้างพอร์ตทันที คือการบังคับปิด Position ของเราที่เปิดอยู่โดยที่ไม่ต้องแจ้งให้เราทราบก่อน เพราะป้องกันยอด Equity ของนักลงทุนติดลบนั่นเองค่ะ

ในภาพเป็นตัวอย่างบัญชี Demo การเปิดคำสั่ง จะเห็นระดับ Margin Level นั่นคือ % ที่ต้องรักษาไว้ ถ้าต่ำกว่า 50 % ก็จะโดน Margin Call หรือ ล้างพอทเลยค่ะ

การล้างพอร์ตจะมีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ที่พบบ่อยในตลาด Forex ซึ่งมีส่วนผิดพลาดมาจากหัวข้อต่อไปนี้ค่ะ

  • Money Management ของพอร์ต ไม่ได้รับการจัดการวางแผนที่ดี หรือ ไม่มีการวางแผนไว้
  • การเทรดมากจนเกินไป Overtrade
  • การใช้ Leverage สูงจนเกินไป กำไรจำนวนมากแต่ก็เสี่ยงขาดทุนจำนวนมากเช่นกัน
  • การเทรดผิดทางแล้วไม่ตั้ง Stop loss หรือ ไม่ยอม Cut loss

สาเหตุการล้างพอร์ต

การทำความเข้าใจจากการล้างพอร์ทในตลาด Forex คือ ในตลาด Forex เป็นตลาดที่มีการใช้ Leverage นั่นคือ การให้ผู้ซื้อมีกำลังซื้อสินค้าที่ตัวเองมีมูลค่าเงินไม่ถึง เช่น หุ้นราคา 2 พันบาท ต้องซื้อขั้นต่ำ 100 หุ้น เป็นเงิน 2 แสนบาท แต่นักลงทุนมีเงินแค่ 10,000 บาท บริษัท หรือ โบรกเกอร์ ตลาดหุ้น หรือตลาด Forex จึงเสนอเงินให้ยืม นั่นคือ Leverage กี่เท่าก็ว่าไปเพื่อให้เงิน 10,000 บาทสามารถซื้อหุ้นที่ต้องใช้เงิน 200,000 บาทได้ แต่ว่า จำนวนการเคลื่อนไหวก็จำกัด

พอร์ตแตกทำยังไง

ส่วนมากการเทรดแล้วเจอปัญหา พอร์ตแตกเกิดจาก การเทรดในผลิตภัณฑ์ที่มี Leverage พอร์ตแตกแล้วทำยังไงนั้นมีคำตอบเดียวคือ เติมเงินเพิ่ม ฝากเงินเพิ่มเท่านั้น

การเทรดที่เสี่ยงให้พอร์ตแตกมากที่สุดคือ Forex ขณะที่รองลงมา คือ การเทรด future คริปโตของ Binance หรืออื่น ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและมีคน พอร์ตแตกมากที่สุดคือ เหรียญ UST ของ Do Kwan นั่นเอง

ป้องกันการล้างพอร์ต

การล้างพอร์ต ในตลาด Forex เป็นเหตุการที่ไม่พึงประสงค์ของนักเทรด นักเทรดจะต้องมีมาตรการป้องกันการล้างพอทลงทุน เพราะนั่นคือการสูญเงินลงทุนแบบที่จะไม่ได้กลับมาอีกค่ะ

  • วางแผนจัดการการเงิน Money Management ที่ดี
  • เทรดแบบพอดี ไม่ Overtrade
  • ระมัดระวังในการใช้ Leverage
  • ฉลาดในการใช้ประโยชน์จากโบนัส
  • เมื่อกราฟวิ่งสวนทางจากที่คาดการณ์ให้ Stop loss ทันที

สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการล้างพอร์ตคือ ส่งคำสั่งโดยมี mm กำกับ และควบคุมความเสี่ยงไม่ให้เกิน 3 – 5 % ต่อการเทรด 1 ครั้ง มี Stoploss ทุกครั้ง ลองใช้วิธีคำนวณ lot ของเรา Forexduck ดูได้ค่ะ

การเฮจ (Hedging) แก้ไม้ป้องกันการล้างพอร์ตได้หรือไม่

มีอาจารย์สอนฟอเร็กซ์หลายท่าน หลายคนที่นิยมใช้สูตร hedging กรณีเทรดผิดทางเพื่อแก้ไม้ ในการเทรดฟอเร็กซ์เพื่อป้องกันการล้างพอร์ต การทำ hedging เป็นกลยุทธ์ที่นิยมในกองทุนหรือ hedgefund แต่ไม่ได้นิยมในการ hedge เพื่อป้องกันการล้างพอร์ต เพราะมันป้องกันการล้างพอร์ตไม่ได้ สาเหตุก็เพราะ

  • การ hedge แก้ไม้คือการเทรดแบบไม่มีแผน แล้วมาแก้สถานการณ์หมายความว่า คุณ hedge ในจุดที่กลัวล้างพอร์ต กลัวพอร์ตแตก นั่นคือคุณส่ง Sell สวน Buy หรือ Buy สวน Sell คานกันไว้ทำให้คุณได้ราคาไม้แก้ไม่ดี
  • การ Hedge ป้องกันการล้างพอร์ต คุณทำมันตอนที่ Equity ของคุณเหลือน้อยแล้ว พอมันเหลือน้อยก็ภาวนาว่า เฮ้ย เดี๋ยวเปิด Sell คานไว้ก่อน แล้วปิด Sell ตอนมันกลับตัว ให้มันกลับเข้ามาทาง Buy ก็จะได้กำไรชดเชย จริง ๆ แล้วคุณไม่กล้าหรอกที่จะปิดฝั่งที่แก้ เพราะไม่รู้ว่ามันจะไปต่อหรือเปล่า จนทำให้ทำอะไรไม่ได้
  • การเฮดจ์แก้ไม้ มันก็คือการยอมรับไปแล้วว่า เราขาดทุน แต่ยอมรับตอนขาดทุนหนัก เพราะเราเปิด Buy และ Sell คู่กันนั่นเท่ากับออเดอร์ถูกหักล้างแล้ว เหลือเพียงแค่เราจะยอมรับมันได้เมื่อไหร่

ตัวอย่าง ล้างพอร์ต

กรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่สามารถทำให้ล้างพอร์ต

กรณีที่ 1

  • Balance 100 USD
  • ส่งคำสั่งเทรด Lot 0.01 = เงิน 1 USD
  • เหลือหลักประกัน Margin = 99 USD
  • หากออเดอร์ติดลบจนถึง 99-100 USD
  • โดนบังคับปิดออเดอร์ = ล้างพอร์ต

กรณีที่ 2

  • Balance 100 USD
  • ส่งคำสั่งเทรด 1 Lot
  • Leverage 1:100 เปิดออเดอร์ 1 Lot ใช้ Margin เป็นเงิน 10 USD
  • เหลือหลักประกัน Margin = 90 USD
  • หากออเดอร์ติดลบ 80-90 USD
  • โดนบังคับปิดออเดอร์อัตโนมัติ = ล้างพอร์ต

คุณล้างพอร์ตเท่าไหร่ เยอะหรือไม่

นี่คือตัวอย่างสถานการณ์จริงในกลุ่ม Facebook เทรดเดอร์ทุกคนเคยผ่านสถานการณ์ล้างพอร์ตมาจำนวนมาก ด้วยการเทรดที่ไม่ Stop loss การ Overtrade ไม่อยากล้างพอร์ต มีกฏง่าย ๆ

  • อย่า Overtrade ใช้เครื่องคำนวณ Lot ของเรา
  • ตั้ง Stop loss คุณทำได้หรือเปล่านั่นแหละ
  • เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่ล้างพอร์ต ไม่ได้กลัวล้างพอร์ต แต่นั่นแหละคือปัญหา
FOREXDUCK Logo

FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง

HFM Promotion