Forex ถูกกฏหมายในประเทศไทย เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย เพราะว่า การลงทุน Forex ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ ก่อนจะถามว่าถูกฏหมายในเมืองไทยหรือไม่ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Forex ผิดกฏหมายหรือไม่? เพราะว่า จะถูกกฏหมายก็ต้องมีกฏหมายขึ้นมาก่อน เราเลยต้องมาทำความเข้าใจกับกฏหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนในบ้านเรา
Forex คืออะไร
ก่อนจะบอกว่า Forex ผิดกฏหมายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Forex คืออะไร มันถึงจะบอกได้ว่าผิดกฏหมายหรือไม่ เพราะถ้าเราไม่รู้ว่า Forex คืออะไรความหมายของเรากับโบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการอาจจะแตกต่างกัน
Forex คือ การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินตราต่างประเทศทุกค่าเงิน ซึ่งรวมทั้งการซื้อขายแลกเปลี่ยนในราคาที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ โดยการซื้อขายเป็นตลาดแบบ Decentralized คือตลาดไม่มีหน่วยงานควบคุม
เมื่อเป็นแบบนี้จะเห็นว่า การเทรด Forex คือ การซื้อขายค่าเงิน ถ้าหากเราไปซื้อเงินดอลล่าร์ที่ธนาคารก็เรียกได้ว่าเป็นซื้อขาย Forex เช่นกัน เรียกได้ว่า “ซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน” ฉะนั้นถ้าว่ากันตามหัวข้อนี้ก็จะเห็นว่า เราสามารถซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนได้ทั่วไปในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หน่วยงานที่ไปจดทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทย
เราลองมาดูตัวอย่างของหน่วยงาน บริษัทเขาขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทยกันค่ะว่า มีบริษัทอะไรบ้างและบริษัทอะไรบ้างที่เขาจดทะเบียนกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถไปดูฉบับเต็มได้ที่ลิงค์ต่อไปนี้
จะเห็นเลยว่า นี่คือ รายชื่อผู้รับซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม เพราะว่า เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักก็จะรับแลกเงิน จึงเข้าข่ายการทำธุรกรรมซื้อขาย โดยคนที่รับซื้อขายก็เรียกว่าเป็น “นายหน้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน” เหมือนกับ “นายหน้าซื้อขายหุ้น” ในตลาดหุ้นไทย จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทย ฉะนั้น หมายความว่า จริง ๆ แล้ว
การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน ถูกกฏหมายในประเทศไทย! นะคะ
แต่ว่านั่นใช่สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจรึเปล่า เพราะว่า Forex ที่ว่าอย่างโบรกเกอร์ Exness นี่นับเป็นนายหน้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนใช่หรือไม่ XM นับเป็นนายหน้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ หรือเป็นสัญญารูปแบบอื่น ซึ่งในตลาด Forex ก็มีสัญญาหลายรูปแบบซะด้วยสิค๊ะ สัญญาที่เราเห็นได้บ่อย ๆ คือ
- สัญญา CFDs
- สัญญา Swap
- สัญญา Forwards
- สัญญา Futures
- สัญญา Options
สัญญาเหล่านี้ล้วนเป็นของ Forex ทั้งสิ้น แล้วเรานักเทรด เราเทรดตัวไหนกันค๊ะ ก็ต้องบอกก่อนว่า โบรกเกอร์ Forex ที่เราเทรดกันนั้นส่วนใหญ่ให้บริการสัญญาที่เรียกว่า CFDs ค่ะ ดูตัวอย่าง XM กันค่ะว่าเค้าระบุไว้ในข้อตกลงว่า นั่นคือ CFDs เป็นยังไง
พอถึงตรงนี้เราก็จะเห็นว่า Forex ที่เราเทรดนั้นเป็น CFDs นะค๊ะ ไม่ใช่ Forex แล้วแถมยังเทรดอยู่ตลาดต่างประเทศ ไม่ได้เทรดในบ้านเรา ก็ถ้าอย่างนั้น คำถามว่าถูกกฏหมายไทยไหมก็คงต้องบอกว่า
” สัญญา CFDs อัตราแลกเปลี่ยน ไม่ได้มีในกฏหมายบ้านเราค่ะ” มันทำให้ Forex ไม่ได้ผิดกฏหมายเพราะมันไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับ CFDs แต่ก็ไม่ถูกกฏหมายค่ะ ก็มันไม่มีกฏหมายจะถูกกฏหมายได้ยังไง
แล้วอย่างนี้เทรด Forex ผิดกฏหมายไหม
เราต้องแยกกันคนละส่วนค่ะว่า การเอาเงินออกไปนอกประเทศนั้นผิดกฏหมายหรือไม่ เพราะว่า โบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่ไม่ได้จดทะเบียนในไทย และขึ้นทะเบียนกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น Exness ขึ้นทะเบียนที่ประเทศอังกฤษค่ะ ทำให้ไม่ได้อยู่ในกฏหมายไทย พอเราโอนเงินจากบัญชีในบ้านเราออกไปที่บัญชี Exness มันจึงกลายเป็นว่า โอนเงินออกไปต่างประเทศ ไม่ว่าคุณจะโอนเงินไปลงทุน ไปทำอะไร เราก็ไม่ทราบได้แล้วหล่ะเพราะมันอยู่นอกราชอาณาจักรไทยแล้ว
ไม่แตกต่างกับการที่คุณขนเงินไปที่ฮ่องกง และนำไปเล่นการพนันในบ่อนคาสิโน คุณก็ทำได้ คุณจะขนเงินออกไปเล่นการพนันในบ่อนเขมรก็มีคนไทยเดินทางไปเล่นพนันจำนวนมาก ก็ทำได้เพราะไม่ได้กระทำในพื้นที่ราชอาณาจักรไทย เพราะคุณไม่ได้บอกว่าคุณอยู่ในเมืองไทย ก็ไม่มีใครรู้ว่าคุณเปิดโปรแกรมเทรดอยู่ในเมืองไทย แต่ถ้าคุณจะไปบอกตำรวจว่า คุณเทรดอยู่บ้าน นั่นคนละการตีความในกฏหมายไทย ต้องไปตีความว่า CFDs ในเมืองไทยผิดหรือไม่ เพราะยังไม่มีกฏหมายบอกว่าผิดค่ะ
ความเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย อย่างที่บอกว่า กฏหมายที่ต้องเกี่ยวข้องจริง ๆ คือ การโอนเงินออกไปต่างประเทศ แต่กฏหมายการควบคุมเงินตรานั้น เป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ในมุมมองของ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงผิดกฏหมาย “การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน” เพราะเราโอนเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ
นี่คือเนื้อความที่ประกาศ จะเห็นว่า ข้อ 1 คือ ประชาชนต้องทำธุรกิจกับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต ซึ่งก้คือธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาต หมายความว่า จริง ๆ แล้วทำได้ แต่ต้องทำกับหน่วยงานที่รับอนุญาตในประเทศไทย (ซึ่งไม่มี) สำหรับคนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ Forex เช่นบริการให้มีการรับส่งเงิน โอนเงิน เป็นตัวแทนโอนเงิน เรียกว่า “ผิด พรบ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน” ซึ่งปัจจุบันไม่มีโบรกเกอร์ไหน โอนเงินแทนตัวกลางที่เป็นบุคคลอีกแล้ว หรือต่อให้มีเป็นบริษัท ก็น่าจะมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย
ความเห็นใน Pantip
ไม่ผิดมั้ง เหมือนเป็นสิ่งที่กฎหมายไทยไม่รองรับอยู่แล้ว ถ้าเปิดในไทยคนเปิดผิดแน่ แต่เค้าเปิดที่ต่างประเทศกันบัญชีรับโอนเงินก็นอกประเทศหมด แต่ถ้าโดนเชิดคุณตามอะไรไม่ได้เลยนะ
ส่วนใหญ่ก็ล่อมือใหม่ทั้งนั้นแหละ มันไม่ได้ง่ายกว่าหุ้นหรอก คุณเทรดหุ้นมากี่ปีจะไปเทรด forex
เมื่อกฏหมายยังไม่รองรับ ระวังโดนหลอก ตัวอย่างให้เปิดบัญชี 100,000 พอเล่นเสียก็บอกเชิดเงิน พอได้ก็บอกเงินในบัญชีมี 500,000 แล้ว แต่พอจะถอนมาใช้ถอนไม่ได้
สมมติว่า ผมสร้างตลาดขึ้นมา แล้วก็หลอกให้คนเอาเงินมาลงทุน คุณคิดว่า เจ้าของตลาดจะต้องการขาดทุนหรือกำไร ครับ ? ค่าเงินขึ้นลงเป็นวินาที เป็นไปได้หรอ?? (ผมก็ไม่รู้นะ) เทรดผ่านเงินจำลองกำไร 90% เทรดผ่านเงินจริงๆ ขาดทุน โอกาสสูงมากเช่นกัน
เหมือนการพนัน แทงสูงต่ำ แล้วเจ้ามือเลือกได้ด้วยว่า ผลจะออกมาเป็นสูงหรือต่ำ แบบนี้ยังจะเล่นอยู่ไหมครับ
คุณ เทรดได้ คุณเทรดไป เลยครับ ข่าวมันมีมาเรื่อยๆ หลายปีแล้ว
ถ้าคนหน้าใหม่ๆ เข้ามาก็เสียเงิน และก็เลิกเทรด เลิกสนใจข่าว
ก็วนกันอยู่อย่างนี้ เสมอ ส่วนคนได้เขาก็ เทรดมาเรื่อยๆ
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง