โบรกเกอร์ forex คือ ผู้ให้บริการการซื้อขาย ส่งคำสั่งการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนของลูกค้าที่เป็นลูกค้ารายย่อย ลูกค้าสถาบัน เข้าไปให้กับ Liquidity Provider ที่มีอยู่ในตลาดกลาง Interbank Market โดยรายได้ของโบรกเกอร์มาจาก ค่าคอมมิชชั่น Spread ที่ได้จากส่วนต่างของราคา โบรกเกอร์ Forex ในไทยยังไม่มีกฏหมายรองรับ หลายคนกล่าวว่า ผิดกฏหมาย แต่โบรกเกอร์เหล่านั้นไม่ได้ขึ้นทะเบียนผ่านหน่วยงานควบคุมในไทย
โบรกเกอร์ Forex คือ
ปัจจุบันมีการแข่งขันด้านโบรกเกอร์ จำนวนมาก โดยโบรกเกอร์ที่เข้ามาทำการตลาดในไทย เป็นโบรกเกอร์ต่างประเทศ ประเทศไทยไม่ได้มีผู้ให้บริการการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็น CFD ของประเทศไทยเอง
นอกจากนี้ยังมีโบรกเกอร์ที่เป็นเจ้าของโดยคนไทย แต่ไปทำการจดทะเบียนที่ต่างประเทศ ยกตัวอย่างโบรกเกอร์ Bull sphere ที่จดในประเทศออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม การซื้อขายกับโบรกเกอร์ Forex เราแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลจากเว็บ Forexduck ให้ละเอียด
บทบาทและหน้าที่
โบรกเกอร์Forex ทำหน้าที่เป็นตัวแทน และเป็นสื่อกลางระหว่างนักลงทุนกับตลาด โดยรับคำสั่งจากนักเทรดส่งเข้าไปที่ Liquidity Provider เพื่อทำการจับคู่คำสั่งการซื้อขาย โดยมีรายได้คือ ค่าธรรมเนียมการส่งคำสั่ง เรียกว่า Commission อย่างไรก็ตาม รายได้ของโบรกเกอร์จะขึ้นอยู่กับประเภทของโบรกเกอร์ซึ่งมีหลายประเภท
กลไกการส่งคำสั่งของโบรกเกอร์
การรับคำสั่งซื้อขายของโบรกเกอร์นั้นรับคำสั่งมาจากหลายแห่ง และส่งให้กับ Liquidity Provider เพื่อทำการจับคู่คำสั่งกับคำสั่งประเภทอื่น โดยที่ คำสั่งซื้อจะถูกจับคู่กับคำสั่งขาย ของคนอื่น และได้ปริมาณเท่ากัน ไม่แตกต่างจากตลาดหุ้น หรือตลาดอื่น ๆ
ดังนั้น โบรกเกอร์ จึงมีรายได้แค่เพียงคอมมิชชั่นเท่านั้น เพราะ Spread คือส่วนต่างของราคาที่ต้องส่งให้กับทาง Liquidity Provider จึงไม่ใช่รายได้ของโบรกเกอร์ ข้อนี้ทำให้สามารถสังเกตุได้ว่า การแยกประเภทโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งเข้าตลาดนั้น จะต้องมีคอมมิชชั่นในบัญชีดังกล่าว และมี Spread ที่สมเหตุสมผล
โบรกเกอร์ Forex ในไทย
ความนิยมในการเทรด Forex เพิ่มสูงขึ้นมากทำให้โบรกเกอร์ได้พัฒนาบริการและแข่งขันกันด้านบริการสูง ปัจจุบันการเทรด Forex ในไทยเปิดกว้างทุกสาขาอาชีพและมีโบรกเกอร์จากต่างประเทศเข้ามาทำการตลาดและให้บริการคนไทย
นี่เป็นรายชื่อโบรกเกอร์ Forex ที่มีชื่อเสียงและมีการให้บริการกับคนไทย มีการจดทะเบียนตามหน่วยงานที่ถูกต้องตามหน่วยงานกำกับ
โบรกเกอร์ Forex ในไทย
ประเภทโบรกเกอร์
โบรกเกอร์ถูกจัดแบ่งตามกระบวนการส่งคำสั่งและรูปแบบธุรกิจที่พวกเขาใช้ กระบวนการส่งคำสั่งของ Forex มีดังต่อไปนี้
Dealing Desk (DD)
Dealing Desk – คือรูปแบบของการรับคำสั่งของเทรดของลูกค้าและไม่ได้ส่งไปยังตลาดกลาง ลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็น Market Maker โดยเมื่อเทรดเดอร์กำไร โบรกเกอร์จะขาดทุน และเมื่อเทรดเดอร์ขาดทุนพวกโบรกเกอร์จะกำไร
ด้วยเงื่อนไขที่ต้องรับคำสั่งของลูกค้าแล้วถ้าหากลูกค้าจะกำไร หมายถึงโบรกเกอร์ขาดทุน จึงทำให้โบรกเกอร์แสวงหาความได้เปรียบที่จะทำให้ลูกค้ามีโอกาสขาดทุนมากที่สุด โดย Spread จะคงที่ได้ แม้ว่าสเปรดจะต่ำในบางโบรก แต่ก็อาจจะมีค่า Swap สูง หรือไม่มีค่าคอมมิชชั่น แต่อาจจะมีค่าธรรมเนียมการฝากถอนที่ค่อนข้างแพง
นอกจากนี้ โบรกเกอร์ประเภทนี้จะเลือกลูกค้าที่มีขนาดพอร์ทลงทุนขนาดเล็กและมีการเทรดลอทใหญ่ ๆ ซึ่งมีโอกาสล้างพอร์ตสูงเพื่อที่จะทำการเทรดตรงข้าม
โบรกเกอร์ Dealing Desk จะมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า B Book Broker ซึ่งสามารถตรวจดูได้ใน Forex Duck โบรกเกอร์ ซึ่งบางโบรกมีการใช้ทั้ง 2 แบบในโบรกเดียว
Non-Dealing Desk (NDD)
โบรกเกอร์ Non-Dealing Desk เป็นโบรกที่รับคำสั่งลูกค้าแล้วนำเข้าสู่ตลาดโดยผ่าน Liquidity Provider หรือผู้ให้บริการสภาพคล่องของที่ตัวเองใช้บริการ ซึ่งโบรกเกอร์นี้เรียกว่า A Book Broker แต่ในแต่ละโบรกเกอร์ ก็มีรูปแบบการส่งคำสั่ง ที่แตกต่างกัน
Electronic Communication Network (ECN)
โบรกเกอร์ที่ใช้โมเดล Electronic Communication Network (ECN) ทำให้ลูกค้าเข้าถึงตลาด Interbank Forex ได้โดยตรง การส่งคำสั่งซื้อขาย จะเห็นจำนวนผู้ซื้อผู้ขายผ่านระบบโปรแกรมเทรดแบบ ECN
โบรกเกอร์ ECN ส่วนใหญ่จะแสดงจำนวนออเดอร์บนจอลูกค้าเรียกว่า Depth of Market คือเป็นปริมาณการส่งคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาต่าง ๆ เหมือนตลาดหุ้น การส่งคำสั่งแบบนี้เป็นการส่งคำสั่งผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้ลดความผิดพลาดจากการส่งคำสั่งของมนุษย์
ข้อดีมันสามารถลดความเสี่ยงของการรีโควต แทบจะไม่มีเกิดขึ้นเลย สำหรับคนที่เทรดด้วยความเร็วสูงในช่วงที่ราคาผันผวนสูง ๆ ช่วงข่าวออก โดยอาจจะมีการส่งคำสั่งให้กับ Liquidity Provider รายเดียว โบรกเกอร์ที่ใช้วิธีการส่งคำสั่งแบบ ECN จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นแบบคงที่ ที่เรียกว่า Commission ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ซื้อขายจำนวนมากแต่ไม่บ่อย
Straight Through Process (STP)
โบรกเกอร์ที่ใช้รูปแบบการส่งคำสั่งแบบ STP จะใช้การส่งคำสั่งอัติโนมัติเต็มรูปแบบ เขาจะไม่มีตัวกลางรูปแบบธุรกิจจนี้เรียกว่า สำหรับการใช้งานของลูกค้า เนื่องจากพวกเขาไม่มีเคาน์เตอร์จัดการ พวกเขาจึงเรียกว่านายหน้า A-Book
ระบบ STP จะทำงานและประมวลผลโดยตรงกับลูกค้าไปยัง Liquidity Provider หรือธนาคารที่ให้เป็นผู้บริการ ไม่มีความผิดพลาด ไม่มีความล่าช้า ข้อดีอีกอย่างคือ ราคาที่ได้ เป็นราคาจากการที่มี Liquidity Provider รองรับคำสั่งมาแล้ว ซึ่งการเทรดแบบ STP จะใช้ Liquidity Provider หลายเจ้า ทำให้ราคาแม่นยำ เพราะมีการแชร์กันทำให้ส่งราคาใดก็ได้ราคานั้น ละเอียดยิ่งกว่ากระบวนการแบบ ECN ซึ่งมี Liquidity Provider เพียงเจ้าเดียว
Direct Market Access (DMA)
โบรกเกอร์บางเจ้าจะให้บริการที่เป็นแบบ DMA คือการส่งคำสั่งเข้าตลาด Interbank Market โดยตรงเพื่อดำเนินการธุรกรรมของลูกค้า บริการอัตโนมัตินี้ทำงานโดยจับคู่ Bid หรือ Offer ของลูกค้า กับราคาที่มีคนเสนอฝั่งตรงข้าม ที่ให้การดูแลผ่าน Liquidity Provider โดยวิธีการ DMA
DMA เป็นบริการที่โปร่งใส่ที่สุด อย่างไรก็ตาม Spread จะมีความผันผวน (ลอยตัว) ไม่คงที่ เป็นไปตามสภาพตลาด ขณะที่รายได้โบรกเกอร์ประเภทนี้คือค่าคอมมิชชั่นเช่นกัน บางครั้งโบรกเกอร์ ECN หรือ STP จะเสนอบริการแบบ DMA ให้กับลูกค้า แต่ก็ไม่เสมอไปทุกครั้ง
หน่วยงานกำกับโบรกเกอร์
เมื่อมีโบรกเกอร์ให้บริการมากขึ้น มีการฉ้อโกงและมีการดำเนินงานที่ไม่ได้มาตรฐานจึงมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า โดยที่หน่วยงานต่าง ๆ ตามแต่ละประเภทแต่ละภูมิภาคมีการดูแลที่แตกต่างกัน
หน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ หรือ หน่วยงานดูแลโบรกเกอร์ เป็นหน่วยงานที่โบรกเกอร์จะไปจดทะเบียนการให้บริการสินค้าทางการเงิน เพื่อได้รับการรับรองให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ Forex การจดทะเบียนดังกล่าว สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ว่า “โบรกเกอร์จะไม่โกง หรือ หลอกลวง” โดยหน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ ก็มีการจัดลำดับชั้นเป็น 3 ชั้น ได้แก่
- Tier 1 หน่วยงานกำกับความน่าเชื่อถือสูง หรือ High Trust Forex Regulator
- Tier 2 หน่วยงานกำกับความน่าเชื่อถือปานกลาง หรือ Average Trust Forex Regulator
- Tier 3 หน่วยงานกำกับความน่าเชื่อถือต่ำ หรือ Low Trust Forex Regulator
หน่วยงานกำกับที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ หน่วยงาน CySEC ของ CyPrus ซึ่งเป้นหน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ใน Tier 2 หรือหน่วยงาน FCA ของอังกฤษเป็นหน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ระดับ Tier 1
โดยคุณสามารถดูรายละเอียดหน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ Forex ได้ที่ลิงค์
โบรกเกอร์ Forex ของคุณเป็นอย่างไร
จากรูปแบบและวิธีการส่งคำสั่งต่าง ๆ ของโบรกเกอร์ คุณสามารถสังเกตุโบรกเกอร์ของคุณว่า มีลักษณะอย่างไร ถ้าหากคำสั่งมีการ รีโควต ราคาผิดเพี้ยนบ่อยครั้ง แสดงว่าอาจจะเป็นรูปแบบ Dealing Desk หรือถ้าหากไม่มีค่าคอมมิชชั่น ก็อาจจะเป็น Dealing Desk หรือ Book B เช่นกัน
บางโบรกเกอร์จะให้บริการหลายรูปแบบ แตกต่างกันไป เช่น Exness โบรกเกอร์ XM จะเป็นการรับคำสั่งแบบ Dealing Desk ทั้งหมด และตัวโบรกเกอร์เองก็บอกชัดเจนว่า เป็น B-Book โบรกเกอร์ อย่างไรก็ตาม คำสั่งของ XM ไม่เคยมีการ รีโควต เพราะว่ารับคำสั่งทั้งหมด และไม่มีค่า Commission ซึ่งตราบเท่าที่ XM ยังสามารถฝากถอนได้ปกติ และทำกำไรแล้วถอนได้ ก็ถือว่าดี และ XM ก็เติบโตมาเป็นโบรกเกอร์ระดับโลก
จัดอันดับโบรกเกอร์ Forex
ด้วยการแข่งขันที่เข้มข้นของอุตสาหกรรม Forex ทำให้มีจำนวนโบรกเกอร์จำนวนมากมาให้บริการนักเทรดชาวไทย จึงมีการจัดอันดับของโบรกเกอร์เว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึงเว็บไซต์ที่คอยตรวจสอบการทำงานของโบรกเกอร์ wikifx ซึ่งแตกต่างจากโบรกเกอร์ Forexduck ที่ทำการตรวจสอบแค่ใบอนุญาต คอยติดตาม สืบข้อมูลค้นหาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ และการจัดอันดับโบรกเกอร์ก็เช่นกัน
การจัดอันดับโบรกเกอร์Forex ของ Forexduck ปี 2021
การจัดอันดับโบรกเกอร์Forex จะเป็นการจัดอันดับโบรกเกอร์ โดยใช้เกณฑ์การให้บริการที่สำคัญได้แก่ Spread คอมมิชชั่น Swap และบริการด้านอื่น ๆ เช่น บริการช่วยเหลือ การตอบคำถามของผู้ให้บริการ ทำให้นักเทรดมีความมั่นใจในการเทรด
นอกจากปัจจัยที่ว่ามาแล้ว ยังมีปัจจัยเรื่องการฝากถอนเงิน ความรวดเร็ว ด้านการฝากถอน เพราะนักเทรดจะเผชิญปัญหาการล้างพอร์ต หรือ พอร์ตแตก ทำให้การฝากถอนเร็วมีความสำคัญมาก เพราะถ้าฝากเงินแล้วไม่เข้าทันเวลา ก็จะล้างพอร์ตขาดทุนจนหมดได้
ปัจจัยดังกล่าวที่ว่ามาจึงมีความสำคัญกับการจัดลำดับโบรกเกอร์Forex เพื่อให้ความสำคัญต่อการบริการของลูกค้า
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง