ประเภทโบรกเกอร์ Forex
โบรกเกอร์ Forex เป็นผู้ให้บริการสภาพคล่อง การส่งคำสั่งในการเทรดค่าเงิน ให้บริการเทรดเดอร์ในหลาย ๆ ด้านได้แก่ การส่งคำสั่งเข้าตลาดกลาง การฝากถอน การบริการตอบคำถาม อย่างไรก็ตามโบรกเกอร์ Forex สามารถแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับการจัดประเภทของแต่ละระบบการส่งคำสั่ง โดยประเภทของโบรกเกอร์ Forex มีความสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือในการเทรดให้กับลูกค้า
ในบทความนี้ จึงทำการจัดประเภทของโบรกเกอร์ Forex เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีให้กับนักเทรด Forex โดยการจัดลำดับเป็นการจัดประเภทตามมาตรฐานสากล โดยสามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ประเภทของโบรกเกอร์ Forex มาตรฐาน
ประเภทของโบรกเกอร์ Forex ตามมาตรฐานสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Dealing Desk และ Non Dealing Desk
Dealing Desk คืออะไร
Dealing Desk หรือ DD โบรกเกอร์ ก็คือ โบรกเกอร์ผู้ให้บริการส่งคำสั่งที่ส่งคำสั่งโดยจะนำออเดอร์ของลูกค้าไปคัดกรองก่อน เช่น ถ้าหากออเดอร์นั้นมีบัญชีขนาดเล็กและมีลักษณะ Overtrade ก็จะทำการรับคำสั่งนั้นไว้เอง ขณะที่การส่งคำสั่งที่มีขนาดเล็กมีแนวโน้มว่าจะกำไรก็จะส่งเข้าตลาดกลาง เรียกว่า มีการคัดกรองออเดอร์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของลูกค้าเป็นหลัก
Non Dealing Desk หรือ NDD คืออะไร
Non Dealing Desk คือโบรกเกอร์หรือผู้ให้บริการส่งคำสั่ง Forex ที่ตรงกันข้ามกับ DD ที่จะส่งคำสั่งของลูกค้าเข้าไปในตลาดกลางทันที (Interbank Market) โดยที่การส่งคำสั่งของลูกค้าจะไม่มีการรับออเดอร์ของลูกค้าไว้เอง ทำให้โบรกเกอร์ Non Dealing Desk ได้รับความนิยมเรื่องความน่าเชื่อถือมากกว่า อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า โบรกเกอร์ Non Dealing Desk จะถูกกว่า เพราะบางโบรกเกอร์อย่าง XM ก็เป็น Dealing Desk ที่ให้บริการถูกมาก
โบรกเกอร์ Forex ตามกระบวนการส่งคำสั่ง
นอกจากการแบ่งรูปแบบกระบวนการมาตรฐานแล้วยังสามารถแบ่งตามประเภทบัญชีการส่งคำสั่ง โดยมีโบรกเกอร์อีกแบบเรียกว่า โบรกเกอร์ A Book และ โบรกเกอร์ B Book
A Book คือ อะไร
A Book คือ โบรกเกอร์ให้บริการที่ส่งคำสั่งโดยผ่านตลาดกลาง โดยใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือโบรกเกอร์แบบ Non- Dealing Desk นั่นแหละ เพียงแต่มีการจัดประเภทใหม่ โดยโบรกเกอร์ A Book สามารถตรวจสอบได้ในตารางตรวจสอบโบรกเกอร์ A Book
B book คืออะไร
B Book คือ โบรกเกอร์ให้บริการส่งคำสั่งโดยไม่ผ่านตลาดกลาง หรือไม่ได้มี หน่วยงานที่น่าเชื่อถือควบคุม โดยหน่วยงานที่ควบคุมโบรกเกอร์ Forex จะแบ่งเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Tier 1 Tier 2 และ Tier 3 ซึ่งถ้าหากหน่วยงานควบคุมเป็น Tier 3 จะได้รับความน่าเชื่อถือน้อย
อย่างไรก็ตาม A B หรือ B book เป็นประเภทบัญชีของที่ให้บริการของโบรกเกอร์ ซึ่งโบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีประเภทบัญชีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์ Exness หรือ GMI จะมีทั้งรูปแบบ A และ B book อยู่ในโบรกเกอร์เดียวกัน เช่น Exness Raw Spread จะเป็นบัญชี A Book ขณะที่บัญชีอื่นไม่ใช่ โบรกเกอร์ GMI Market จะมีบัญชี ECN เป็น A Book ขณะที่บัญชีอื่นเป็นแบบ B Book ทั้งสิ้น
โบรกเกอร์ Forex ตามประเภทการให้บริการ
นอกจากการแบ่งประเภทโบรกเกอร์ Forex ตาม 2 วิธีที่กล่าวมาแล้ว เรายังสามารถแบ่งประเภทของโบรกเกอร์ Forex ได้อีก ตามรูปแบบบัญชีที่ให้บริการ อีก 3 ประเภท ได้แก่
STP โบรกเกอร์
STP หรือ Straight Through Process คือการส่งคำสั่งตลาดกลางโดยตรงไปที่ตลาดและรอคำสั่งนั้นจับคู่กับคำสั่งอื่นในตลาด เป็นการส่งคำสั่งที่ถือว่าดี แต่ว่าการจับคู่คำสั่งนั้นบางครั้งไม่ได้รับการตอบสนองเพราะมีจำนวนผู้ให้บริการสภาพคล่องไม่เพียงพอ
DMA โบรกเกอร์
DMA หรือ Direct Market Access คือโบรกเกอร์ Forex ที่ใช้การส่งคำสั่งเข้าสู่ตลาดกลาง โดยการประกบคู่ฝั่ง Buy กับ ฝั่ง Sell ของคำสั่ง เพื่อจับคู่คำสั่งของลูกค้า
ECN โบรกเกอร์
ECN หรือ electronic communication network เป็นระบบโครงข่ายการส่งคำสั่งของตลาด Forex ที่มองว่าการส่งคำสั่งเป็นโครงข่ายมากกว่าการจับคู่คำสั่ง เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการเทรด ที่ทำให้ได้ต้นทุนการเทรดที่ถูกที่สุด เพราะว่า ไม่ได้ทำแค่เพียงการจับคู่คำสั่งในฐานข้อมูลอย่างที่ DMA ทำ แต่ทำการจับคู่คำสั่งผ่าน Liquidity Provider หลายเจ้าทำให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
โบรกเกอร์แต่ละประเภทนั้นจะมีรูปแบบการส่งคำสั่งที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ประเภทของโบรกเกอร์แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามปัจจุบัน โบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่ส่งคำสั่งผ่าน Liquidity Provider หลายเจ้าทำให้ได้คำสั่งหลายรูปแบบ บางโบรกเกอร์มี Liquidity Provider ของตัวเอง เช่น GMI market
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง