Market Structure Forex คืออะไร Price Structure ICT Trading Concept

IUX Markets Bonus

Market Structure คือ

Market Structure คือ การวิเคราะห์ตลาด Forex โดยใช้หลักการของ Demand และ Supply Zone ซึ่งมีทฤษฎีย่อยเป็นส่วนประกอบ จำนวนมาก ตัวอย่างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ Demand Supply Zone ได้แก่

  • Smart Money Concept (SMC)
  • Inner Circle Trader (ICT)
  • Quasimodo (QML)

ซึ่งล้วนอยู่ภายใต้หลักการวิเคราะห์ของ อุปสงค์อุปทาน ทฤษฎีของ Market Structure ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Smarket Money Concept คือ เริ่มแรกที่เชื่อว่าตลาดมีโครงสร้างราคา การเคลื่อนไหวของตลาดนั้นเป็นโครงสร้างและ การเคลื่อนไหวติดต่อกันจึงเรียกว่า Break of Structure หรือ BOS

ทฤษฎีของ Market Structures

สำหรับทฤษฎี Market Structures นั้น มีการประยุกต์ใช้กับหลายศาสตร์ได้แก่ Fibonacci และรวมถึง Elliott Wave ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ราคาแบบไม่ใช้ Indicator

Pattern ของเทรนด์

ภาพ Market Structure Concept

มาจาก: หนังสือสอน ICT Trading โดย Reginald MMari

HFM Market Promotion

ในภาพเป็นโครงสร้างภาพรวมของตลาด Market Structure Concept ถ้าหากคนที่ได้ศึกษา Elliott Wave แล้วจะพบว่ามันมีความคล้ายคลึงกันมาก นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ ทำให้มันสามารถใช้ด้วยกันได้

ประเภทของ Market Structure

สำหรับประเภทของ Market Structure นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

  • Bull trend
  • Bear trend
  • Sideways trend

ประเภทของแต่ละเทรนด์จะเกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดการเกิดและลักษณะของมัน ซึ่งเราได้ทำการอธิบายไว้ในรายข้อต่อไปนี้

Bull Trend

Bullish Trend Market Structure

ลักษณะของ Bull Trend
  • จะเกิดขึ้นในเทรนด์ขาขึ้นเท่านั้น
  • เป็นลักษณะเทรนด์ขาขึ้นยาว ๆ เกิดขึ้นได้ทุกช่วง
  • Long Term High และระหว่างการพัก Short Term หรือ Intermediate Term
  • การเกิดลักษณะนี้เรียกว่า BoS หรือ Break of Structure

Bear Trend

Bearish Trend Market Structure

ลักษณะของ Bear Trend
  • จะเกิดขึ้นในเทรนด์ขาลงเท่านั้น
  • เป็นลักษณะเทรนด์ขาลงทุกช่วง
  • Long Term High และพักช่วง Short Term และ Intermediate Term

Sideway Trend

Ranging Sideway Market Structure

ลักษณะของ Sideway Trend
  • ลักษณะของเทรนด์สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง Sideway
  • เกิดช่วง Swing ของแต่ละจุด จุดกลับตัว
  • อาจจะมีการเกิด Change of Character หรือ Choch

 

พื้นฐานการวิเคราะห์

สำหรับการวิเคราะห์ Market Structure อาจจะดูง่ายถ้าเป็นเส้นแบบนั้น แต่ในความเป็นจริง การวิเคราะห์ต้องเจอกับภาวะตลาดที่แตกต่างกัน ในแต่ละรูปแบบของรูปแบบกราฟไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกราฟแท่งเทียน

สำหรับรูปแบบกราฟแท่งเทียน ควรจะเป็น คือ

Market Structure พื้นฐานการวิเคราะห์

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกราฟแท่งเทียนไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกครั้ง เรามาดูรูปแบบอื่น ๆ กันฃ

Price Continuation

Price Continuation

รูปแบบราคาที่ควรจะเป็น

  • สำหรับการวิเคราะห์ควรจะยึดกับการเกิดตอนต้นเทรนด์
  • หรือการเกิดจุดกลับตัวเพราะว่าจะทำให้ทำกำไรได้ดีกว่า
  • ได้ R:R ที่ดีกว่า

Price Failure

Price Failure

รูปแบบราคาล้มเหลว

  • การเกิดรูปแบบนี้คือ การเกิดจุดกลับตัว
  • ต้องระวังการเข้าเทรดแบบนี้ เพราะว่าอาจจะทำให้ราคาย้อนกลับ
  • ได้ราคาที่ไม่ดีและ R:R ไม่ดี เสี่ยงต่อการชน SL

นอกจากรูปแบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปแบบของ Support Resistance คือแนวรับแนวต้าน ที่ต้องให้ความสำคัญในช่วงรูปแบบโครงสร้างตลาดแบบ Sideway ซึ่งต้องทำความรู้จักด้วย

 

การเทรดด้วย Market Structure

สำหรับการวิเคราะห์ หรือการเทรดด้วย Market Structure สิ่งที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์มีเรื่องต่อไปนี้

Trend is Your Friend

การเทรดด้วย Market Structure

ความสำคัญของเทรนด์

  • สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเทรดต้องเป็นเทรนด์ขาขึ้น
  • ปัญหาคือ เราอยู่ตรงไหนของเทรนด์
  • ต้นเทรนด์ กลางเทรนด์ หรือปลายเทรนด์
  • ถ้าคุณอยู่ต้นเทรนด์ คุณจะมีโอกาสหลายครั้ง
  • แต่ถ้าอยู่กลางเทรนด์ก็อาจจะยังพอมีบ้าง
  • ถ้าคุณไปเทรดปลายเทรนด์ นั่นแหละปัญหา

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของเทรนด์ ซึ่งก็ต้องดู 2 อย่างต่อไปนี้คือ Momentum ของราคา ว่ามีความแรงขนาดไหน ถ้าหากแท่งเทียนยาว ก็เรียกว่า Momentum ดี และที่สำคัญต้องดูรูปแบบของเทรนด์ออกด้วย นั่นก็คือ ไปในหัวข้อต่อไปได้เลย

Momentum ของราคา

Momentum ของราคา

การดู Momentum

  • การดู Momentum จะต้องดูลักษณะของแท่งเทียน
  • แท่งเทียนจะบอกเราทุกอย่าง
  • ในภาพนี้แสดง Momentum ที่กำลังจะเปลี่ยน
  • แท่งเทียนค่อย ๆ สั้นลง
  • จนเปลี่ยนเป็นสีแดง อย่างนี้เรียกว่า “ปลายเทรนด์”

การดูแค่ Momentum อย่างเดียวไม่พอ เพราะว่า มันบอกได้ก็จริงว่า อาจจะเกิดจุดกลับตัวแต่ว่ารูปร่างของเทรนด์หล่ะ รูปร่างแบบไหน มันจะกลับตัวยาวไปถึงไหน ฉะนั้น Pattern จึงมีความสำคัญมาก มันถึงมี Cycle และรูปแบบ Concept ยังไงหล่ะ

 

Pattern ของเทรนด์

Pattern ของเทรนด์

รูปร่างของเทรนด์

  • เราได้ดู Market Structure Concept จะเห็นว่ามันคล้าย Elliott Wave
  • นี่แหละที่ต้องใช้ คุณสามารถใช้ Elliott Wave
  • Price Pattern
  • Price Action
  • Fibonacci ในการเทรดได้เลย

ตลาดที่เหมาะกับการวิเคราะห์

ตลาดที่เหมาะกับการวิเคราะห์ Market Structure ไม่ได้มีแค่ตลาด Forex แต่ว่าตลาดอะไรบ้างที่จะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้

เนื่องจาก ทฤษฎีของ Market Structure อ้างอิงบนหลักการของ Demand Supply และอยู่บนพื้นฐานของ Smart Money Concept หรือ การเทรดของรายใหญ่ทำให้ ตลาดที่มีรายใหญ่อยู่จะสามารถเทรดได้ โดยตลาดนั้นได้แก่

  • ตลาด Forex
  • ตลาดหุ้น (ไม่แนะนำสำหรับ Futures และ Option)
  • ตลาด Crypto

ตลาดที่ไม่ควรเทรด

ตลาดที่ไม่ควรเทรดได้แก่ตลาด Futures และ Option เพราะว่า 2 ตลาดนี้เป็นตลาดที่มีอายุสัญญาในการซื้อขาย ทำให้บ้างครั้ง อาจจะโดนเรื่องของจำกัดนี้ในการต้องโดน Liquidate ออกไปก่อน ก่อนที่จะถึงราคาเป้าหมาย

ประกอบกับ อายุของสัญญา และ Premium ของมันทำให้ราคาไม่ได้เป็นไปตามพฤติกรรมของ อุปสงค์และอุปทาน

ซึ่งตลาด Futures ไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น มันรวมถึงตลาด Futures ของ Crypto ด้วย

Time Frame ที่เหมาะสม

สำหรับการวิเคราะห์ Market Structure อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุก Time Frame โดยเฉพาะ Time Frame เล็ก ๆ ซึ่งมีการแกว่งตัวสูง โดย Time Frame ที่เหมาะสำหรับการเทรด มีดังต่อไปนี้

  • 1H
  • 4H
  • 1D
  • 1W

การวิเคราะห์ MN สำหรับตลาด Forex อาจจะกว้างเกินไป โดยเราจะยกตัวอย่างการวิเคราะห์ให้ดังตามที่ปรากฏในหัวข้อต่อไป

ตัวอย่างการใช้งานในตลาด Forex

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างในการใช้งาน Market Structure ในตลาด Forex ดังนี้

1. EURUSD ใน 1H

EURUSD ใน 1H

2. EURUSD ใน 4H

EURUSD ใน 4H

3. EURUSD ใน 1D

EURUSD ใน 1D

การวิเคราะห์อื่น ๆ

สำหรับการวิเคราะห์ Market Structure ควรอ่านเนื้อหาเหล่านี้เพิ่มเติม

  • Break of Structure (BoS)
  • Smart Money Concept (SMC)
  • Quasimodo (QML, QM)
  • Demand Supply Trading, Demand Supply Zone

ข้อมูลประกอบ

ภาพประกอบเพื่อการใช้งาน

Market Stucture Concept

ประเภทของโครงสร้างตลาด Market Structure

ประเภทของโครงสร้างตลาด Market Structure

การเคลื่อนไหวใน Market Structure

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้การเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวใน Market Structure

การวิเคราะห์ Market Structure

เราสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายทฤษฎี

การวิเคราะห์ Market Structure

  • ทฤษฎี Elliott Wave
  • ทฤษฎี Fibonaci Retracement
  • หรือ Elliott Wave Extension
  • และแน่นอน สามารถใช้ RTM, Demand Supply Zone ได้เช่นกัน

ที่มา:

  • https://bookmap.com/blog/what-is-market-structure-in-trading/
  • https://tradeproacademy.com/definition-of-market-structure/
  • https://globalprime.medium.com/how-to-read-market-structures-in-forex-5e645ac46120
  • https://www.studocu.com/pt-br/document/faculdade-do-leste-mineiro-faculeste/money-and-bank/inner-circle-trader-ict-forex-ict-notespdf/17916813
FOREXDUCK Logo

FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง

HFM Promotion