บัญชี ECN กับ Standard
บัญชี ECN และบัญชี Standard มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ข้อดีและข้อเสียของแต่ละบัญชีมีความแตกต่างกัน เทรดเดอร์ควรเลือกประเภทบัญชีที่เหมาะสมกับตนเอง โดยความแตกต่างระหว่าง 2 ประเภทบัญชี มีดังต่อไปนี้
เปรียบเทียบบัญชี ECN กับ Standard
ความแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อทำการเปรียบเทียบบัญชี ECN กับบัญชี Standard เทียบกับด้วยรายละเอียดมีดังนี้
รายละเอียด | บัญชี ECN | |
Spread | สเปรดต่ำ | เสปรดสูงกว่า |
Commission | มีค่าคอมมิชชั่น | ฟรีค่าคอมมิชชั่น |
Reqoute | ไม่มีรีโควต | มีรีโควต |
Server | รวดเร็วมาก | รวดเร็วน้อยกว่า ECN |
เหมาะสม | ไม่เหมาะสม | |
เทรดช่วงข่าว | ไม่มีปัญหา | อาจมีปัญหา |
ระดับเงินลงทุน | เงินลงทุนมาก | เงินลงทุนน้อย |
ระดับเทรดเดอร์ | มืออาชีพ | มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไป |
บัญชี ECN
บัญชี ECN ย่อมาจาก Electronic Communication Network เป็นประเภทบัญชีที่ส่งคำสั่งเข้าสู่ตลาดโดยตรงเหมาะสำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพ ตัดปัญหารบกวนสำหรับเทรดเดอร์ออกไปได้หลายอย่าง โดยข้อดีและข้อเสียของบัญชี ECN มีดังนี้
ECN Account
ข้อดีบัญชี ECN
บัญชี ECN มีข้อดีดังนี้
Server รวดเร็ว
Server ของบัญชี ECN มีความรวดเร็วสูงมาก ทำให้เป็นข้อได้เปรียบเรื่องการส่งคำสั่งที่จะได้ราคาตลาดขณะที่กดส่งคำสั่งทันที
Requote หมดปัญหา
ปัญหาการรีโควตที่ทำให้เทรดเดอร์มืออาชีพต้องพลาดราคาที่ต้องการจะหมดไปเมื่อใช้บัญชี ECN เทรดเดอร์จะไม่ต้องพบกับปัญหารีโควตอีกเลย
Spread ต่ำ
ค่าสเปรดของบัญชี ECN ต่ำมาก ส่วนใหญ่แล้วเป็น 0.0 pip ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเทรดเดอร์
Scalping
บัญชี ECN เหมาะกับกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping หรือการเทรดระยะสั้น ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเทรดด้วยบัญชี ECN จะได้ราคาที่ถูกที่สุดดีที่สุด ด้วยความรวดเร็วของ Server นั่นเอง
เทรดข่าว
การเทรดช่วงข่าวรื่นไหล ได้ราคาที่ดีทั้งเปิดและปิดออเดอร์เนื่องจาก Server เร็ว ไม่มีรีโควต อีกทั้งค่าสเปรดยังเป็นศูนย์แม้ช่วงข่าวทำให้มีต้นทุนต่ำ จึงเหมาะกับการเทรดเดอร์ที่ชอบเทรดในช่วงข่าวเป็นอย่างยิ่ง
ข้อเสียบัญชี ECN
เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เรามาดูข้อเสียของบัญชี ECN ดังต่อไปนี้
Commission
ค่าคอมมิชชั่นของบัญชี ECN ราคามาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 7 USD/Lot เนื่องจากค่าสเปรดที่ต่ำทำให้โบรกเกอร์เก็บค่าคอมมิชชั่นแทน
เงินลงทุน
เงินลงทุนเริ่มต้นของบัญชี ECN ค่อนข้างสูงกว่าบัญชี Standard โดยแต่ละโบรกเกอร์จะกำหนดเงินฝากเริ่มต้นสำหรับบัญชี ECN ไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าบัญชี Standard
เปรียบเทียบค่าคอมมิชชั่นบัญชี ECN
น้องเป็ดได้ทำการเปรียบเทียบค่าคอมมิชชั่นต่อรอบ รวมเปิด-ปิดออเดอร์ ต่อ Lot ของบัญชี ECN หรือเทียบเท่า ในโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ดังนี้
โบรกเกอร์ | ค่าคอมมิชชั่น |
ฟรี | |
IUX Markets | 7 USD |
GMI Markets | 4 USD |
4 USD | |
ฟรี | |
7 USD | |
7 USD | |
LandFx | 0.6 pips |
8 USD | |
12 USD |
บัญชี Standard
บัญชี Standard เป็นบัญชีที่ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์โดยมี Liquidity Provider หรือผู้ให้บริการสภาพคล่องเป็นผู้เสนอราคา แล้วจึงส่งคำสั่งไปสู่ตลาดกลาง ทำให้ประเภทบัญชีนี้ดำเนินการใช้ช้ากว่าประเภทบัญชีแบบ ECN เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไปที่มีความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มและตลาดในระดับนึงแล้ว ข้อดีและข้อเสียของบัญชี Standard มีดังนี้
Standard Account
ข้อดีบัญชี Standard
บัญชี Standard เป็นบัญชีที่เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ มีข้อดีต่าง ๆ ดังนี้
Commission ฟรี
ค่าคอมมิชชั่นฟรี สำหรับบัญชี Standard จึงเหมาะสมกับเทรดเดอร์มือใหม่ และเทรดเดอร์ทั่วไปที่ยังไม่อยู่ในระดับมืออาชีพ ปกติแล้วโบรกเกอร์ชั้นนำในตลาดจะให้ฟรีคอมมิชชั่นในบัญชี Standard เป็นส่วนใหญ่
เงินลงทุนต่ำ
เงินลงทุนในบัญชี Standard ค่อนข้างต่ำ บางโบรกเกอร์ไม่กำหนดเงินฝากขึ้นต่ำในการฝากเข้า ทำให้เทรดเดอร์ที่ต้องการฝึกฝนการเทรด เริ่มต้นด้วยเงินจำนวนน้อย ๆ ก่อนที่จะชำนาญได้
ข้อเสียบัญชี Standard
ข้อเสียของบัญชี Standard มีดังนี้
ค่า Spread สูง
เนื่องจากฟรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้ค่าสเปรดของบัญชี Standard สูงกว่าบัญชี ECN การเคลื่อนไหวของค่าสเปรดคู่สกุลเงินค่อนข้างเคลื่อนไหวรวดเร็ว
Server ไม่รวดเร็ว
เซิร์ฟเวอร์จะช้ากว่าบัญชี ECN ทำให้การเข้าและออกออเดอร์อาจเกิดการ delay หรือล่าช้า ทำให้ราคาไม่ตรงตามที่ส่งคำสั่ง การเทรดด้วยกลยุทธ์เทรดสั้นและการเทรดช่วงข่าวจึงไม่เหมาะสม
Reqoute
เกิดการรีโควตในบัญชี Standard ทำให้ในบางครั้งการส่งคำสั่งไม่ได้ราคาที่ต้องการ อาจส่งผลให้ผิดแผนที่วางไว้ หรือหากแย่กว่านั้นอาจทำให้เกิดการขาดทุน
เปรียบเทียบค่าสเปรดบัญชี Standard
ค่าสเปรดของบัญชี Standard ในโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว มีผลความแตกต่างดังนี้
โบรกเกอร์ | ค่าสเปรด |
Exness | 0.3 pips |
0.2 pips | |
GMI Markets | 1.0 pips |
Tickmill | 1.6 pips |
XM | 1.0 pips |
IC Markets | 1.0 pips |
Eightcap | 1.0 pips |
LandFx | 0.9 pips |
FxPrimus | 1.5 pips |
FBS | 0.5 pips |
โบรกไหนดี แนะนำ
เกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินใจว่าโบรกไหนดี ควรพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยซึ่งน้องเป็ดตรวจสอบปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยสูง การฝากเงินและถอนเงินหลายช่องทางและฟรีค่าธรรมเนียม เป็นต้น
หากพิจารณากันที่ต้นทุนค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่นของทั้ง 2 ประเภทบัญชีแล้ว น้องเป็ดให้คะแนนโบรกเกอร์ Exness และ XM เป็นโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN ที่ดี เนื่องจากค่าคอมมิชชั่นฟรี อีกทั้งยังมีค่าสเปรดต่ำ ทำให้ต้นทุนของเทรดเดอร์ในการเทรดต่ำมาก
บัญชี Standard ที่ดี ยกให้เป็นของโบรกเกอร์ IUX เนื่องจากมีค่าสเปรดต่ำมาก อีกทั้งยังฟรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้ต้นทุนการเทรดบัญชี Standard ของเทรดเดอร์มีต้นทุนการเทรดต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของตลาด Forex เหมาะสมกับเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไปในการเปิดบัญชีเทรด
สรุป
โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องหาเงินจากค่า Spread และค่า Commission เนื่องจากโบรกเกอร์เหล่านั้นทำการค้า จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีโบรกเกอร์ที่โปร่งใสไม่คิดค่าสเปรดและคอมมิชชั่น ดังนั้นเทรดเดอร์ทำได้เพียงแค่เลือกโบรกเกอร์ที่มีต้นทุนต่ำ ควบคู่กับหลักการพิจารณาอื่น ๆ ตามความพึงพอใจ จึงจะได้โบรกเกอร์สำหรับเปิดบัญชี ECN และ บัญชี Standard ที่ถูกใจ
เทรดเดอร์หลายท่านพิจารณาต้นทุนการเทรดควบคู่ไปกับการมีทีมงานซัพพอร์ตภาษาไทยที่สามารถตอบคำถามได้รวดเร็ว หรือเทรดเดอร์อีกกลุ่มอาจพิจารณาจากการฝากเงินและถอนเงินที่รวดเร็ว อย่างที่น้องเป็ดได้กล่าวไปแล้ว หลักการพิจารณาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม น้องเป็ดได้ทำการเปรียบเทียบต้นทุนการเทรดของโบรกเกอร์ต่าง ๆ ไว้แล้ว หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถหาอ่านแบบเจาะลึกได้ในแต่ละโบรกเกอร์ที่ท่านสนใจ โบรกเกอร์ที่ดีและเหมาะสมกับแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน การทดลองใช้งานดูว่าชอบหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง