Time Frame คืออะไร ทำความรู้จักกับ TF ในโปรแกรมเทรด

IUX Markets Bonus

Time Frame คืออะไร

Time Frame คือ กรอบเวลาสำหรับแท่งเทียน ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ Technical Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์ที่ได้รับความนิยมสูง Time Frame จะแตกต่างกันไปตาม Platform สำหรับการวิเคราะห์

ในการวิเคราะห์ราคา ราคาจะถูกแบ่งตามช่วงเวลา ซึ่งการวิเคราะห์จะถูกแบ่งเป็น 2 แบบ การวิเคราะห์โดยไม่ใช้เวลา และ การวิเคราะห์โดยใช้เวลา

การวิเคราะห์โดยไม่ใช้เวลา

การวิเคราะห์โดยไม่ใช้เวลา เป็นการนำราคามาต่อกันเป็นเส้น องค์ประกอบของราคา ถ้าหากนำมาต่อกันเป็นเส้น จะมีเพียงเส้นเดียว ไม่มี ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด ราคาปิด และ ราคาเปิด เมื่อประยุกต์ใช้กราฟแบบนี้จะไม่เห็นว่า ราคาและพฤติกรรมราคาเป็นอย่างไร การวิเคราะห์แบบนี้ได้แก่ Line Chart

Time Frame คืออะไร

จะสังเกตุว่า ราคาที่ได้จะเป็นเส้นเดียว ซึ่งไม่มีการแบ่ง Time Frame

การวิเคราะห์โดยใช้เวลา

ส่วนการวิเคราะห์แบบใช้เวลา ได้แก่การวิเคราะห์แบบ Bar Chart และ Candle Stick Chart ซึ่งจะนำเส้นแบ่งเวลามาใช้ เมื่อมีการนำเส้นแบ่งเวลามาใช้ ทำให้สามารถกำหนด ราคาเปิด ปิด ราคาสูงสุด และ ราคาต่ำสุดของแต่ละช่วงเวลาได้ ทำให้ภาพที่ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งกราฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ กราฟแท่งเทียน

องค์ประกอบของ Time Frame ยอดนิยม

HFM Market Promotion

Time Frame หรือ TF สามารถแบ่งเป็น 9 Time Frame ที่ได้รับความนิยมสูงดังต่อไปนี้

  • M1 คือ Time Frame ราย 1 นาที
  • M5 คือ Time Frame ราย 5 นาที
  • M15 คือ Time Frame ราย 15 นาที
  • M30 คือ Time Frame ราย 30 นาที
  • H1 คือ Time Frame ราย H1 นาที
  • H4 คือ Time Frame ราย H4 นาที
  • D1 คือ Time Frame ราย D1 นาที
  • W1 คือ Time Frame ราย W1 นาที
  • MN คือ Time Frame ราย MN นาที

แต่ละ Time Frame เช่น Time Frame 1 นาที หมายความว่า แต่ละแท่งเท่ียน หรือแต่ละ Barchart เท่ากับระยะเวลา 1 นาที การคิดเวลาของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันไปด้วย

การคิดเวลากำหนดเวลาเปลี่ยนแท่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับ ที่ตั้งของ Server ซึ่งแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ทำให้ลักษณะกราฟบางแห่งแตกต่างกันไปด้วย ขึ้นอยู่กับโปรแกรมวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นิยม ซึ่งมี 3 Platform หลัก ๆ ได้แก่ MT4 Tradingview และ Efinance สำหรับการวิเคราะห์ในตลาดหุ้นไทย

Time Frame ในโปรแกรม MT4

Time Frame ใน MT4

นี่คือ ตัวอย่างของ Time Frame ใน MT4 จะประกอบด้วย 9 Time Frame หลัก แต่ละแท่งแสดงถึงแต่ละ Time Frame

ส่วนใหญ่ Time Frame ในตลาด Forex จะแตกต่างกันไปตามโบรกเกอร์ ทำให้ลักษณะของแท่งเทียนของบางโบรกเกอร์ไม่เหมือนกัน กับโบรกเกอร์อื่น เพราะ Server ที่ตั้งของบริษัทอยู่คนละแห่ง

Time Frame ใน Tradingview

Time Frame ใน TradingView

Time Frame ใน Tradingview จะแตกต่างจาก MT4 หรือ MT5 เพราะว่า มีความละเอียดมากกว่า ระดับวินาที สำหรับการเทรดที่ใช้ความถี่สูงมาก ๆ

Time Frame ในเทรดดิ้งวิว จะมีรายละเอียดเพิ่มได้แก่ จำนวนชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น และจำนวนนาทีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การวิเคราะห์สามารถทำได้อย่างละเอียดขึ้นในการวิเคราะห์ข้ามตลาดได้แก่ ตลาดคริปโต ตลาดหุ้น หรือตลาดอื่น ๆ

ซึ่งต้องบอกว่าตลาด Forex ไม่มีเยอะขนาดนั้นเพราะว่า ยิ่งวิเคราะห์ละเอียดจำนวน Spread จะถ่างขึ้น

Time Frame ใน Efinance

Time Frame ใน Efinance

สำหรับ Time Frame ในโปรแกรม Efinance จะเป็น Time Frame ระดับ วัน สัปดาห์ เดือน ปี ไตรมาส ซึ่งเหมาะสำหรับการวิเคราะห์หุ้นมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ระดับนาทีของ Efinance ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดจำนวนนาที ถึง 10 Time Frame

ความสัมพันธ์ระหว่าง Time Frame

ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะมีคำถามเกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่า การวิเคราะห์ Time Frame ควรจะเริ่มต้นจาก Time Frame ไหนดี ปัญหา Classic ที่เกิดขึ้นก็คือ

“ถ้าหากว่า จะดูเทรนด์การเปลี่ยนแปลง ต้องดู Trend หลัก อย่างนี้ต้องทำการวิเคราะห์ Time Frame ใหญ่ก่อน แล้วจึงมาเทรด Time Frame เล็ก”

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ก็มีข้อขัดแย้งและเทรดเดอร์หลายคนก็ขัดแย้งบ่อย ๆ จากแนวคิดว่า

“บางครั้งการดูเทรนด์ใหญ่มาก่อน ถ้าหากมันเปลี่ยนเทรนด์ ก็ช้าไปแล้ว เพราะเทรนด์ที่เปลี่ยนมันจะต้องเกิดจาก Time Frame เล็กไปหา Time Frame ใหญ่”

สองแนวคิดนี้จึงดูขัด กัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทั้ง 2 แนวคิดก็ถูกทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับว่า มองในมุมไหนและกลยุทธ์อะไร สำหรับ Trend Follow หรือการเทรดตามเทรนด์ ตามเส้นแนวโน้ม ก็จะต้องดู Time Frame ใหญ่ แต่ว่า การเทรดจุดกลับตัว การเทรดที่ Time Frame ใหญ่ นั้นจะทำให้ช้า เพราะการเทรดจุดกลับตัว ต้องได้จุดเข้าเทรดที่ดีที่สุด

Time Frame ใดก็ไม่ต่างกัน

เนื่องจาก องค์ประกอบของ Time Frame คือ Time Frame ที่เล็กกว่า ทำให้การเทรด Time Frame ใดก็ไม่แตกต่างกัน เราลองมาดู ความต่างของลักษณะของกราฟ 2 Time Frame นี้กัน

Time Frame Day

นี่คือกราฟ GBPUSD Time Frame Daily สิ่งที่เราจะพยายามให้ดูคือ รูปร่างของการเคลื่อนไหวในระดับ Daily แต่ทำการซูมออกให้เล็ก จะได้เห็นภาพกว้าง

สิ่งที่เราพยายามจะให้ดูคือ องค์ประกอบของ Time Frame เล็ก ก็จะเป็นองค์ประกอบของ Time Frame ใหญ่ ดังนั้น รูปร่างของ Time Frame Daily จะต้องเหมือนกับรูปร่างของ Time Frame Week โดยสามารถเทียบกราฟได้ดังต่อไปนี้

Time Frame สัปดาห์ Weekly

สิ่งที่คุณจะเห็นคือ ลักษระของกราฟเคลื่อนไหวเหมือนกันเลย แม้จะต่าง Time Frame นั่นก็เพราะว่า 5 แท่งของ 1D ก็เท่ากับ 1 แท่งของ 1W ซึ่งถ้าหากเราซูมออกของ Time Frame 1D จะทำให้ 5 แท่งนั้นรูปร่างเล็กลง ไม่ต่างจาก 1 แท่งของ 1 W ซึ่งลักษณะราคาจึงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่

ดังนั้นการเทรด จึงขึ้นอยู่กับว่าเป็นกลยุทธ์แบบใดเหมาะกับการเทรดแบบใดในแต่ละ Time Frame

Time Frame กับ กลยุทธ์การเทรด

สำหรับ Time Frame กับกลยุทธ์การเทรดจะมีความสัมพันธ์กัน กลยุทธ์การเทรดแบ่งเป็น 3 กลยุทธ์คือ การเทรดระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ Time Frame ที่แตกต่างกันด้วย

กลยุทธ์การเทรดระยะสั้น

กลยุทธ์การเทรดระยะสั้น เป็นการเทรดที่สั้นมาก โดยที่ปัจจัยด้านพื้นฐานไม่มีผลที่ Time Frame นี้ กลยุทธ์การเทรดแบบนี้ จะใช้ Time Frame ระดับนาที หรือต่ำกว่า เช่น

  • กลยุทธ์การเทรด Scalping
  • กลยุทธ์การเทรด เก็งกำไรรายนาที
  • กลยุทธ์การเทรด แบบ Bid Offer

กลยุทธ์ Swing Trade กับ Time Frame 1H หรือ 4H

กลยุทธ์ Swing Trade คือ การเทรดระยะกลาง ช่วงการวิเคราะห์หลักจะอยู่ช่วงการถือ 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน การวิเคราะหืช่วงนี้ จะไม่ได้อาศัยปัจจัยพื้นฐานเช่นกัน เพราะว่าปัจจัยทางเศรษฐไม่ได้ส่งผลต่อราคาเร็วขนาดนั้น

  • การวิเคราะห์ Time Frame เหล่านี้ได้แก่
  • Time Frame 4 H หรือ 1H
  • Time Frame 1D

กลยุทธ์เหล่านี้แม้จะวิเคราะห์ Time Frame เล็ก แต่เพราะว่า การเกิดคลื่น หรือการแกว่งตัวกินเวลาเป็นสัปดาห์ สำหรับคนที่วิเคราะห์กราฟ 1D อาจจะใช้การวิเคราะห์พื้นฐาน แต่ใช้การหาจุดเข้าที่ดี โดยใช้กราฟทางเทคนิคก็เป็นได้

กลยุทธ์เทรดระยะยาวขึ้นไป

กลยุทธ์การเทรดระยะยาว เช่น Time Frame Week หรอื Month หรือ ยาวกว่านั้นจะถือหุ้นยาวขึ้นไป เช่น 1 ปี หรือมากกว่า บางคนอาจจะถือ 10 ปีขึ้นไป เพราะกว่าที่กราฟจะเปลี่ยนแปลง 1 แท่ง จะเท่ากับ 1 เดือน และกว่าจะรวมเป็น Price Pattern ที่มีหลายแท่งก็ 10 แท่งไปแล้ว ทำให้กว่าจะเปลี่ยนแปลงก็กินเวลาเป็นปี

การเทรดแบบนี้จึงเป็นการวิเคราะห์กราฟเพื่อที่จะดูความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านพื้นฐานเศรษฐกิจ และผลประกอบการของหลักทรัพย์

FOREXDUCK Logo

FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง

HFM Promotion