ทฤษฎี Dow เบื้องต้น
ทฤษฎี Dow Theroy กำเนิดมาเมื่อ 100 ปีแล้ว แต่ยังใช้ได้ในตลาดปัจจุบัน และวิธีการวิเคราะห์ก้อใช้ได้มาจนถึงปัจจุบัน
- Dow Theory ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Dow
- เรียบเรียงอีกครั้งโดย William Hamilton
- และนำมาขยายความและรวบรวมเป็นตำราโดย Robert Rhea
- Down Theory ไม่เพียงกล่าวถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการเคลื่อนไหวของราคา Forex หุ้น คริปโตเท่านั้น
- แต่ยังรวมถึงปรัชญาของตลาดอื่น ๆ ด้วย
- แนวคิดและความคิดเห็นมากมายที่ Dow และ Hamilton นำเสนอกลายเป็นปรัชญาการเทรดของ Wall Street
- แม้ว่าจะมีผู้ที่อาจคิดว่า ตลาดเปลี่ยนไปแล้ว
- แต่เนื้อหาในหนังสือ The Dow Theory ของ Rhea ก็พิสูจน์ว่าตลาดหุ้นในปัจจุบันมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว
ในระดับ Advance ทฤษฎีดาวจะอธิบาย Trend ของตลาดและพฤติกรรมของราคาที่ละเอียดยิ่งขึ้น จะให้สัญญาณการเทรดที่สามารถใช้เพื่อระบุและซื้อขายกับ Trend ตลาดได้
- ทฤษฎีนี้เน้นที่การระบุแนว Trend ของ Dow Jones
- ถูกใช้กับ Dow Jones Industrial Average เพื่อใช้ยืนยัน Trend
- หากค่าเฉลี่ยของ Dow Jones มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ก็อาจกล่าวได้ว่าทั้งตลาดมีแนวโน้มเช่นเดียวกัน
- นักลงทุนสามารถใช้สัญญาณเหล่านี้เพื่อระบุเทรนด์ในตลาดได้
แนวคิด
แนวคิดของทฤษฎี Down คล้ายคลึงกับการขึ้นลงของน้ำทะเล เช่น เวลาน้ำขึ้นคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูงกว่าคลื่นครั้งก่อนหน้า
- ตรงกันข้าม ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งจะมีระดับลดลง
- การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล
- ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นราคาลดลง
- แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนามาจนกระทั่งทุกวันนี้
ทฤษฎี Dow Theory คืออะไร
ทฤษฎีดาว คือ ทฤษฎีทางการเงินที่กล่าวว่าตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นหากค่าเฉลี่ยอย่างใดอย่างหนึ่งสูงกว่าก่อนหน้านี้
- ตามมาด้วยดัชนีที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น หาก Dow Jones Industrial Average (DJIA) ขึ้นไปดัชนี Dow Jones (DJTA) จะตามมาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
- ทฤษฎีดาวเป็นกรอบวิเคราะห์ทางเทคนิคที่คาดการณ์ว่า Trend สูงขึ้น เทรนด์อื่น จะตามมา
ความเป็นมา
Charles Dow คิดค้นทฤษฎี Dow จากการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาในตลาดในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
- จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2445 Charles Dow เป็นเจ้าของร่วมและเป็นบรรณาธิการของ The Wall Street Journal
- แม้ว่าเขาไม่เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎี Dow เลย
- แต่เขาเขียน บทความหลายฉบับที่สะท้อนมุมมองของเขาเกี่ยวกับการเก็งกำไรราคาหุ้น
แม้ว่า Charles Dow จะได้รับเครดิตในการพัฒนาทฤษฎี Dow แต่ S.A. Nelson และ William Hamilton เป็นเรียบเรียงทฤษฎีนี้ให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
- เนลสันเขียน The ABC of Stock Speculation และเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “Dow Theory”
- Hamilton ปรับปรุงทฤษฎีเพิ่มเติมผ่านชุดบทความใน The Wall Street Journal ตั้งแต่ปี 1902 ถึง 1929
- แฮมิลตันยังเขียน The Stock Market Barometer ในปี 1922 และได้พยายามอธิบายทฤษฎี Dow อย่างละเอียด
ในปี 1932 Robert Rhea ได้ปรับปรุงการวิเคราะห์ Dow และ Hamilton เพิ่มเติมในหนังสือของเขา The Dow Theory
- โดย Rhea อ่าน และถอดความในบทความ 252 บทซึ่ง Dow (1900-1902) และ Hamilton (1902-1929) ได้ตีความความคิดของพวกเขาในตลาด
- ในงานของเขา Rhea ได้กล่าวถึง The Stock Market Barometer ของ Hamilton
สมมุติฐานของ Dow Theory
ก่อนที่จะเริ่มยอมรับทฤษฎีดาว มีข้อสันนิษฐานหลายประการที่ต้องยอมรับเกี่ยวทฤษฎีก่อน Rhea กล่าวว่าสำหรับการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Dow ที่ประสบความสำเร็จ ต้องยอมรับสมมุติฐานว่าเป็นดังต่อไปนี้ 3 ข้อ
- ข้อสันนิษฐานแรกคือ ไม่มีการแทรกแทรงแนวโน้มหลัก หรือ Primary Trend ได้
- สมมติฐานที่สองคือตลาดสะท้อนถึงข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดแล้ว
- ข้อสันนิษฐานที่สามคือทฤษฎีไม่มีข้อผิดพลาด
ทฤษฎีดาว 6 ข้อ
ราคาได้สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว
Dow ให้ข้อเสนอว่าทุกอย่างนั้นได้ถูกสะท้อนเป็นราคาในช่วงเวลานั้น ๆ โดย ‘ราคา’ จะเป็นสิ่งสะท้อนของภาพรวมในตลาด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
- ผลกระทบทางการเมือง
- ข่าวทางเศรษฐกิจ
- ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ
- ความต้องการของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด
- ถ้าเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น
- ราคามักจะสะท้อนออกมาก่อนที่บริษัทจะประกาศผลประกอบการหรือข่าวในบริษัทเสมอ
ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ
เมื่อมองตลาดในภาพรวมแล้ว Dow ให้ข้อเสนอว่าราคาของตลาดจะมีการเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้มเสมอ ไม่ว่าจะ ขึ้น (Bull market) หรือลง (Bear market) ซึ่งแนวโน้มนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้
1 แนวโน้มหลัก Primary trend
- Primary Trend คือ แนวโน้มที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
- Trend ใหญ่ หรือระยะยาว โดยปกติจะใช้เวลา 200 วันขึ้นไป
- และอาจยาวนานถึง 4 ปี ซึ่งแบ่งเป็น
ขาขึ้น
- จุดต่ำสุดใหม่จะสูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า
- จุดสูงสุดใหม่จะสูงกว่าจุดสูงสุดเก่า
- และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งลง
ขาลง
- จุดต่ำสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดต่ำสุดเก่า
- จุดสูงสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า
- และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น
2 แนวโน้มรอง
Secondary trend เทรนด์รองนี้จะอยู่ระหว่างช่วงพักตัวของแนวโน้มหลัก แนวโน้มรอง หรือเป็นเทรนด์ระยะกลาง
- โดยมากใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนก็ได้
- โดยแนวโน้มรองนี้จะรวมตัวกันเป็นแนวโน้มใหญ่
3 แนวโน้มย่อย
เทรนด์ย่อย หรือเป็นแนวโน้มระยะสั้น แนวโน้มย่อยนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง
- เป็นการเคลื่อนไหวของดัชนีเป็นรายวันถึงไม่เกิน 3 สัปดาห์
- ซึ่งเราจะไม่ให้ความสำคัญกับแนวโน้มนี้มากนักเพราะมีความผันผวนสูง
- มักมองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่ครับ
- Minor trend มีระยะเวลาน้อยกว่า 6 วัน
แนวโน้มหลัก (primary Trend) แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่
ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase)
- เมื่อราคาหุ้นลดลงมากๆ และมีระยะเวลาที่ติดต่อกันนาน
- มูลค่าการซื้อ-ขาย น้อยลงอย่างมาก
- ช่วงรายใหญ่เก็บหุ้น
- ช่วงนี้ราคาจะไม่ขึ้นจนกว่าจะเก็บของเสร็จ
ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase)
หุ้นในช่วงนี้นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มสนใจ เพราะเห็นว่ามันมีแนวโน้มที่ชัดเจน
- โดยอย่างยิ่ง ใครที่เล่นตาม Trend Following ก็จะกระโจนเข้ามาในช่วงนี้
- เพื่อจะทำกำไรตามหุ้นที่ขึ้นอย่างร้อนแรง
- อาจยังไม่ข่าวออกมาแต่ราคาหุ้นเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน
ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)
คนเหล่านี้ เห็นหุ้นขึ้นมาร้อนแรง เห็นข่าวดีมากมาย นักลงทุนส่วนใหญ่กระโดดเข้าไปตาม ซึ่งมักจะเป็นช่วงที่ตลาดขึ้นไปสุดแล้ว มันเป็นจุดเริ่มต้นของขาลงในที่สุด
ราคาต้องยืนยันซึ่งกันและกัน
ในกรณีมีสัญญาณการเกิดแนวโน้มของราคาไม่ว่าขึ้นหรือลง มันควรพิสูจน์ได้จากราคาที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มนั้น เมื่อ Dow เพิ่งริเริ่มทฤษฎีนี้นั้น
- เขาให้ความเห็นว่าหากหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภคค่าสูงขึ้นจนได้ New high
- ดังนั้นราคาของหุ้น ต้องได้ New high ด้วย
- จึงจะสามารถพิสูจน์และยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ
ปริมาณวอลุ่มยืนยันทิศทางราคา
เหตุการณ์นี้คือ หากภาพรวมของตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้นด้วย
- และในช่วงพัก Volume จึงควรหดตัว
- ตรงกันข้าม ตลาดมีแนวโน้มขาลงและราคาปรับตัวลง ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ของตลาดควรจะเพิ่มขึ้น
- แต่ควรหดตัวในช่วง Rebound
แนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดสัญญาณที่พิสูจน์ได้ว่าแนวโน้มนั้นจะจบลง
จากสมมุติของ Dow เชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มหรือสัญญาณการกลับตัว
- Dow เสนอว่าแนวโน้มหรือ Trend ของตลาดนั้นจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
- จนกว่าจะเห็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างชัดเจน
หนังสือ ทฤษฎีดาว dow theory
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง