Sideway คืออะไร
Sideway คือ การเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่ขึ้นและไม่ลง แกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แคบ ๆ จนเกิดเป็นแนวรับแนวต้าน Sideway อ่านว่า “ไซด์เวย์” เป็นการเคลื่อนไหวของตลาด และราคาของหลักทรัพย์ ประเภทหุ้น forex และคริปโต ซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์ Price Action ได้
“Sideway อาจจะเกิดได้กับทุกราคาในทุกตลาด เพราะมันคือการวิเคราะห์ราคารูปแบบหนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม Sideway ก็มีหลายแบบ นั่นคือมีทั้ง Sideway up และ Sideway down ซึ่งเป็น Sideway ที่เป็นเทรนด์ร่วมด้วย กราฟ Sideway เป็นกราฟที่เทรดค่อนข้างง่ายมากและคาดการได้ง่าย มี RR ที่ดีทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ชอบเทรดกราฟ Sideway ไม่ว่าจะใน Time Frame ใดก็เกิดกราฟ Sideway ได้
ในภาพจะเห็นว่า ราคาจะวิ่งอยู่ภายใต้กรอบที่เป็นเส้น นั่นคือแนวรับแนวต้านที่เกิดขึ้น Sideway จะตัดสินทิศทางไม่ค่อยได้ ซึ่งเมื่อราคาถึงกรอบแนวรับแนวต้านก็ให้ทำการ Sell และ Buy ตามสัญญาณ
Sideway Trend คืออะไร
Side way Trend คือ กราฟเทรนด์ที่ค่อย ๆ เอียงขึ้นและแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ โดยไม่ได้ขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเป็นช่องการแกว่งตัวของราคา ซึ่งมีรูปแบบย่อย 2 รูปแบบได้แก่ Side Way Up และ Sideway Down
Sideway up คืออะไร
Sideway Up คือเทรนขาขึ้นที่ค่อย ๆ ขึ้นอย่างช้า ๆ จนทำให้เหมือนไม่ขึ้น มีการขึ้นและพักฐานของราคาเป็นช่วง ๆ การเคลื่อนไหวราคาแบบ Sideway Up ใน Time Frame จะเป็น Time Frame เล็กกว่า ขณะที่ Time Frame ใหญ่เป็นเทรนด์ นั่นคือ กราฟ Sidway Up การเทรด ต้องให้ความสนใจกับแนวรับ และไม่ควรเทรด Sell เด็ดขาดเพราะว่าถ้าหากไม่พักฐานมีโอกาสขาดทุนสูง
กราฟ Sideway ถือเป็นรูปแบบที่เทรดเดอร์สถาบันชื่นชอบเพราะคาดการณ์ทิศทางได้ง่ายกว่า
Sideway down คืออะไร
Sideway Down คือ กราฟที่ตรงข้ามกับ Sideway Up แต่จะเกิดเป็นขาลง ที่ค่อย ๆ ลง การเกิดกราฟ Sideway Down จะพบได้น้อยกว่า เพราะว่า พฤติกรรมกราฟขาขึ้นกับขาลงมีความแตกต่างกัน กราฟขาขึ้นจะค่อย ๆ ขึ้น แต่ขาลงจะลงรุนแรงในตลาดหุ้น ดังนั้น Sideway Down สามารถหาดูได้จากกราฟที่ Time Frame ต่ำกว่า 4 H ลงไปในตลาดหุ้น
กราฟ sideway กราฟ ในตลาดหุ้น forex ดูยังไง
สำหรับการดูกราฟ Sideway ว่าการเกิด Sideway จะเป็นอย่างไร เพราะว่า ถ้าอธิบายเป็นภาพตอนมันเกิดแล้วใครก็ดูได้ แต่จะดูตั้งแต่ต้นเทรนด์นั้น ไม่สามารถดูได้ง่าย ๆ สิ่งที่จะต้องใช้คือ indicator ประเภท RSI ซึ่งใช้ดู Sideway โดยกราฟ Sideway จะมี RSI ที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือแกว่งตัวมากเป็นพิเศษ ไม่กระจุกอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง จึงเรียกว่า การเกิด Sideway
การตัดสินว่าเกิด Sideway ควรตัดสินเมื่อเกิดรูปแบบ Sideway ไปแล้ว เพราะว่าในช่วงต้นที่ยังไม่ชัดไม่ควรไปตัดสินว่ากราฟนี่คือรูปแบบ Sideway จะสังเกิดว่า มันจะเกิดรูปแบบ higher low ขึ้นเรื่อย ๆ ในตัวอย่าง นั่นคือเทรน พอเกิด higher low ครั้งที่ 3 เราก็รู้ได้แล้วว่านี่คือเทรนขาขึ้น ขณะที่กราฟ Sideway RSI จะแกว่งขึ้น ๆ ลง ๆ ดังในกรอบสีแดง
Sideway Indicator เป็นยังไง
สำหรับระบบเทรด Sideway ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ indicator ประเภท oscillator ในการออกแบบระบบ คล้ายคลึงกับกราฟที่ยกตัวอย่างด้านบน โดย indicator ที่ใช้บอก Sideway คือกลุ่ม oscillator มีดังนี้
- Relative Strength Index
- MACD
- Relative Vigore index
- Stochastick
- Average True Range
RSI กับกราฟ Sideway
RSI เป็นอินดี้ที่เหมาะกับกราฟ Sideway เพราะมันเป็นหนึ่งใน Oscillator ที่ใช้การบอกการแกว่งตัวของราคาอยู่แล้ว ดังนั้นกราฟ Sideway ไม่มีปัญหาสำหรับ RSI เลย เรามาดูภาพต่อไปนี้
ช่วงกราฟ Side Way
ในช่วงกราฟ Sideway RSI ค่อนข้างแม่นยำ
- การขึ้นลงของราคากับกราฟจะสัมพันธ์กัน
- RSI เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อเทรดกราฟ Sideway
- การส่งคำสั่งสามารถส่งได้ที่ระดับ Overbought และ Oversold
ช่วงกราฟ Trend
RSI ช่วงเทรนด์จะไม่ได้ผล ถ้าเป็นเทรนด์ขาลง จะให้ได้แค่บางจังหวะเท่านั้น
- RSI ช่วงเทรนด์ขาลง สัญญาณ Oversold จะใช้ไม่ได้เลย
- สัญญาณ Overbought ใช้ได้แต่ก็น้อยมากเช่นกัน
- RSI จึงไม่เหมาะกับการเทรดกราฟเทรนด์
MACD กับกราฟ Sideway
MACD เป็นเครื่องมือสำหรับกราฟเทรนด์ และต้องถูก Time Frame ด้วย ช่่วงกราฟ Sidway MACD ก็ใช้ได้บ้างแต่ไม่ทั้งหมด
ช่วงกราฟควรเทรด
กราฟ MACD ในช่วง Sideway จะดูยากมาก แต่ในนี้จะมีช่วงที่ควรเทรดอยู่
- ช่วงที่ MACD ลงลึก ๆ มีโค้งใหญ่ เช่นกับวงกลม จะควรเทรด
- การเคลื่อนตัวของราคาสวิงเป็นวงกว้าง อย่างนี้ MACD เทรดได้
ช่วงกราฟไม่ควรเทรด
ช่วงกราฟ MACD ไม่ควรเทรด ได้แก่ ช่วง Sideway แคบ
- MACD ไม่ควรเทรดกราฟแบบนี้
- เพราะว่า คาดเดาทิศทางได้ยากและยังไม่รู้ว่าจะออกทิศทางไหน
Stochastick กับกราฟ Sideway
Stochastick เป็นอีกเครื่องมือที่ใช้ในกราฟ Sideway ได้ดี เพราะว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ RSI โดยที่แทบจะไม่แตกต่างกันเลย แต่ว่า Stochastick ใช้ได้ดีกว่า และใช้งานง่ายกว่า เรามาดูกราฟทั้ง 2 ช่วงของ Stochastick กันเลย
ช่วงกราฟ Sideway
กราฟ Sideway จะเหมาะกับ Stochastick มาก ๆ เพราะว่า เทรดง่าย ตาม Overbougth และ Oversold เท่านั้นเอง
- การส่งคำสั่ง Buy เมื่อ Stochastic อยู่ต่ำกว่า Oversold
- และส่งคำสั่ง Sell เมื่อ Stochastic อยู่เหนือเส้น Overbought
- ข้อสังเกตุ Stochastic ในกราฟ Sideway จะชนทั้ง Overbought และ Oversold
ช่วงกราฟ Trend
ในช่วงกราฟเทรนด์ Stochastic จะใช้การไม่ได้เหมือนกับกราฟ RSI นั่นแหละ
- การส่งคำสั่ง จะเกิดขึ้นฝั่ง Sell ไม่ได้เพราะมันไม่ชน Overbought
- ขณะที่เส้น Stochastic จะชนด้านล่างเป็นส่วนใหญ่
- การเทรดกราฟแบบนี้ทำให้การเทรดเป็นเรื่องยาก ไม่ควรเทรด
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง