Asset Classs คือ
Asset Class หรือ สินทรัพย์ลงทุน ที่เรียงลำดับตาม สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด ซึ่งจะสอดคล้องกับความเสี่ยงของการลงทุนเข้าไปด้วย การลงทุนในสินทรัพย์ จะต้องพิจารณาระดับของสินทรัพย์ตามระดับของความเสี่ยง เนื่องจากสินทรัพย์ในแต่ละระดับจะมีความเสี่ยงแตกต่างกัน ระดับของความเสี่ยงของสินทรัพย์จะถูกใช้ในการปรับนโยบายการลงทุนของผู้ลงทุน หรือหน่วยลงทุน
หน่วยลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยจะเน้นการลงทุนไปสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือเงินฝากถอกเบี้ยสูง ซึ่งคล้ายคลึงกับการที่เราไปซื้อกองทุนเราก็จะถูกประเมินการยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และนำไปตัดสินใจในการให้คำแนะนำในการลงทุน สำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสามารถแบ่งสินทรัพยตาม Asset class
ระดับของสินทรัพย์ Asset Class
ระดับของ Asset Class สามารถแบ่งตามระดับความเสี่ยงของการลงทุนได้ 7 ระดับดังต่อไปนี้
-
เงินสด
เงินสดหรือสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ได้แก่เงินฝาก คือสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางราคาน้อยที่สุด ทำให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดเช่นกัน ความเสี่ยงเดียวของเงินสดที่มีคือ เงินเฟ้อ ผลตอบแทนของเงินสดที่มีคือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปแบบต่าง ๆ โดยส่วนมากไม่สูง
-
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง
เป็นสินทรัพย์ที่รับประกันผลตอบแทนโดยรัฐบาล ทำให้หน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ให้ความสนใจ นั่นคือการที่รัฐบาลต้องการกู้เงินจากหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานต่างประเทศ จึงทำการขายพันธบัตร หรือตั๋วเงิน ที่สัญญาว่าจะใช้หนี้คืนเมื่อครบกำหนดชำระ จะให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากธนาคาร
-
ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ คือ ตราสารของบริษัทเอกชน ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือไม่อยู่ก็ได้ ที่ต้องการเงินสภาพคล่องเพื่อไปบริหารกิจการ โดยการออกตราสารหนี้เพื่อให้ประชาชนนำเงินมาซื้อ โดยมีอายุการไถ่ถอน มีอัตราผลตอบแทนตายตัวที่บริษัทเอกชนเหล่านั้นจะต้องจ่ายเงินต้นคืนมาพร้อมดอกเบี้ย
-
ตราสารทุน
ตราสารทุน คือการลงทุน ในรูปแบบหุ้น ซึ่งในที่นี้อาจจะรวมถึงกองทุน กองทุนรวม ตราสารทุนมิใช่สัญญาจะใช้เงินคืน แต่คือการที่นักลงทุนนำเงินไปซื้อขายในตลาดทุน หรือ ตลาดหุ้น โดยมีความเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อกิจการมีกำไร ก็จะได้รับผลตอบแทน คือ เงินปันผล และส่วนต่างราคา แต่ถ้าบริษัทขาดทุนจนหมดก็จะไม่ได้เงินคืน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นมากกว่า แต่มีความเป็นเจ้าของกิจการ
-
ตราสารอนุพันธ์
ตราสารอนุพันธ์ ในประเทศไทย มี สองชนิดคือ ตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์ และตราสารอนุพันธ์ ออปชั้่นเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงในภาวะตลาดรูปแบบต่าง ๆ Futures คือสัญญาว่าจะมีการส่งมอบสินค้าในอนาคตในราคาที่จะตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งตราสารทั้งสองประเภท มีการใช้ Leverage ทำให้ขาดทุนได้มากกว่าเงินที่ตัวเองมีอยู่ และที่สำคัญ ตราสารนี้ถูกใช้ประโยชน์ในการเก็งกำไรจำนวนมาก
-
Cryptocurrency
เงินดิจิทัล หรือเงินอีเล็กทรอนิกส์ ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 2010 เงินสกุลแรกคือ Bitcoin หรือ BTC มีการซื้อขายเก็งกำไรส่วนต่างราคากันจำนวนมาก ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้ Leverage แต่ก็มีความเสี่ยงเพราะอยู่บนพื้นฐานความเชื่อของคนเท่านั้น ไม่มีผลิตภัณฑ์ ไม่มีบริการ หรือไม่มีผลตอบแทนที่จะได้จากการบริหารกิจการที่แท้จริง
-
CFD
CFD คือ หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ทำการซื้อขายโดยการเก็งกำไรมีการใช้ส่วนต่างราคาเป็นหลัก การเทรดซื้อขาย CFD จะไม่ได้สินทรัพย์จริง ๆ และไม่มีผลตอบแทนของปันผล การซื้อขาย CFD สามารถทำได้หลายผลิตภัณฑ์ เช่น หุ้นไทย หรือว่า ทองคำ ค่าเงิน Forex คริปโต น้ำมัน ฯลฯ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งแล้วแต่โบรกเกอร์จะเป็นผู้กำหนด
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง