FxDreema – โปรแกรมเขียน Expert Advisor บนเว็บเบราเซอร์
FxDreema เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์สามารถเขียน Expert Advisor (EA) และ Scripts สำหรับใช้งานบนแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 และ 5 ได้อย่างง่ายดาย ความพิเศษของ FxDreema คือ เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาในขณะใช้งาน เนื่องจากระบบจะทำการบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ
FxDreema มีทั้งเวอร์ชันฟรีและเวอร์ชันจ่ายเงิน โดยเวอร์ชันฟรีนั้นมีข้อจำกัดในการใช้งานบางประการ แต่ก็เพียงพอสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้และทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้าง EA และ Scripts สำหรับใช้งานบน MetaTrader ส่วนเวอร์ชันจ่ายเงินนั้นมีฟีเจอร์ที่ครบครันและไม่มีข้อจำกัด โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกแพ็กเกจการจ่ายเงินแบบรายเดือนหรือรายปีได้ตามความต้องการ
การออกแบบของ FxDreema นั้นเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ช่วยให้ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมสามารถสร้าง EA และ Scripts ได้อย่างง่ายดาย ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและมีเครื่องมือช่วยเหลือมากมาย ทำให้ FxDreema เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนและเทรดเดอร์ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ที่สนใจใช้งาน FxDreema สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.forexduck.com ในเว็บไซต์จะละเอียดกว่าในหนังสือ
แพลตฟอร์มนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1: ส่วนจัดการโปรเจ็ค
- โปรเจ็คต่างๆ ที่บันทึกไว้
- การสร้างโปรเจ็คใหม่
- การนำเข้าและส่งออกโปรเจ็ค
- การแชร์โปรเจ็ค
- การสร้างอินดิเคเตอร์
- ส่วนโปรไฟล์สำหรับการจัดการแพ็คเกจต่างๆ
- ส่วนออปชันสำหรับการกำหนดค่าออปชันของโปรเจ็ค
- ส่วนช่วยเหลือ ซึ่งจะใช้งานเช่นเดียวกับส่วนที่ 4
ส่วนที่ 2: หน้าต่างเหตุการณ์ หน้าต่างเหตุการณ์จะแสดงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากซ้ายไปขวา โดยพื้นที่ด้านล่างจะสัมพันธ์กับหน้าต่างด้านบนเสมอ หน้าต่างเหตุการณ์แบ่งออกเป็น 6 หน้าต่าง ได้แก่
- on Init: ส่วนแรกที่โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและรันค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้เพียงแค่ 1 รอบ
- on Timer: ส่วนที่มีเหตุการณ์ที่ต้องการใช้ช่วงเวลามาช่วยควบคุม จะมีบล็อคพิเศษเพิ่มเติมให้ใช้งาน
- on Tick: ส่วนหลักที่ใช้สร้างโครงสร้างของ EA หรือ SC จะทำงานทุกๆ ทิคของกราฟราคาตามลำดับบล็อกที่สร้างจากลำดับเลขน้อยไปมาก และจากลำดับบล็อกบนไปล่าง
- on Trade: ส่วนเหตุการณ์ออเดอร์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโอเพ่นออเดอร์ เพนดิ้งออเดอร์ หรือออเดอร์ที่ปิดไปแล้ว จะมีบล็อกพิเศษเพิ่มเติมให้ใช้เฉพาะในหน้าต่างนี้
- on Chart: เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นที่หน้ากราฟเทรด เพื่อปรับแต่งการแสดงผลต่างๆ มีบล็อกพิเศษเพิ่มเติมให้ใช้เฉพาะในหน้าต่างนี้
- on Deinit: ส่วนจบการทำงานของ EA และ SC จะทำงาน 1 รอบ
ส่วนที่ 3: เป็นส่วนที่รวบรวมฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบของบล็อกสำเร็จรูป โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มของระบบ (System) และกลุ่มที่ผู้ใช้สามารถสร้างบล็อกใช้งานเองได้ (Custom)
- Name – สามารถแก้ไขชื่อของโปรเจ็กต์ได้ พร้อมทั้งบอกจำนวนการใช้บล็อกและจำนวนการเชื่อมโยงบล็อก
- Constants (Inputs) – ใช้สำหรับกำหนดค่าคงที่หรือตัวแปรคงที่ ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในฟังก์ชันแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ แต่สามารถกำหนดค่าใหม่ได้
- Variables – ใช้สำหรับกำหนดค่าตัวแปรผันแปรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในฟังก์ชัน
ส่วนที่ 4: จะเป็นส่วนรวมชุมชนกลุ่มผู้ใช้ ตัวอย่างเบื้องต้นจากผู้พัฒนา อายุของแพ็คเกจ ประวัติการแก้ไข (สามารถย้อนกลับได้เล็กน้อย) และตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับรายละเอียดของโปรเจกต์
System รูปแบบกลุ่มบล็อกต่างๆจากผู้พัฒนา
บล็อกจะมีโหนดเชื่อมต่อ2โหนดและ3โหนดตามการออกแบบบล็อก ด้านบนจะเป็นโหนดอินพุท ส่วนด้านล่างจะเป็นโหนดเอ้าพุท ซึ่งบล็อกที่มี3โหนด ด้านล่างจะมี2โหนด คือ เอ้าพุทซ้าย(ผลจริง) เอ้าพุทขวา(ผลเท็จ)
การเชื่อมต่อสามารถโยงจากเอ้าพุทไปสู่อินพุทเท่านนั้น เอ้าพุททั้งสองค่าไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ การยกเลิกเส้นเชื่อมต่อสามารถ
“คลิกซ้าย(มีหน้าต่างยืนยันยกเลิก) คลิกขวา(ยกเลิกแบบรวดเร็ว)”
การเปิดใช้งานเมนูฟังชั่นของบล็อกให้ดับเบิ้ลคลิกซ้ายที่ตัวบล็อก คลิกขวา1ครั้งที่ตัวบล็อกจะเป็นการเปิดเมนูแก้ไขต่างๆของตัวบล็อก เมื่อเซ็ทค่าเงื่อนไขฟังชั่นต่างๆเสร็จต้องกด update เพื่อบันทึกค่าของบล็อกนั้นๆๆจะไม่รวมในการบันทึกอัตโนมัติของตัวโปรแกรม
บล็อกจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อของบล็อกตั้งแต่2บล็อคขึ้นไป เมื่อไม่มีการเชื่อมต่อบล็อก บล็อกนั้นๆจะไม่ถูกคำนวนเงื่อนไขได(แต่ยังเป็นภาระด้านดาต้า) ด้านหน้าบล็อกจะมีตัวเลขกำกับตามลำดับที่เราลากบล็อกมายังพื้นที่ (ส่วนที่2)ในกรณีเราลบบล็อกออกไปลำดับตัวเลขจะเรียงลำดับให้ใหม่จะให้ค่าลำดับต่อไปเลย เราสามารถตั้งค่าตัวเลขลำดับบล็อกได้เพื่อสะดวกในการกำหนดโซนชุดเงื่อนไขได้ หรือไม่สนใจลำดับตัวเลขบล็อกก็ได้แต่ต้องอยู่ในชุดการเชื่อมต่อ
( ชุดการเชื่อมต่อลำดับตัวเลขบล็อกน้อยจะทำงานก่อน) (ชุดหน้าต่างอีเว้นจากซ้ายทำงานก่อนไปขวา)
ทดสอบของจริงได้ฟรี
การอธิบายตัวแปร (เมนูด้านซ้าย)
ต่อไปเป็นการอธิบายตัวแปรต่าง ๆ ที่ node เราสามารถลากมาใช้งานในจอของเรา ซึ่งสำหรับการเขียน EA ให้ใช้งานได้ มีอยู่ไม่กี่ตัว แต่จะเขียนให้ใช้งานได้หลากหลายอาจจะต้องใช้หลายตัวร่วมกัน
สำหรับผู้เขียนแล้ว การใช้เครื่องมือเหล่านี้คล่องเป็นส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่ทั้งหมด มันคือ ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดกลยุทธ์วิธีการต่าง ๆ มากกว่า
หากภาพเล็กไปให้คลิ๊กขวาที่ภาพแล้วเปิดภาพใน new tab
กลุ่มบล็อกใช้แก้ไข สร้างเงื่อนไข ให้กับค่าตัวแปรผันแปร ตอนนี้ในกลุ่มบล็อกนี้มีแค่บล็อกเดียวให้ใช้งานคือ
Modify Variables เป็นบล็อกที่มี2โหนด สามารถสร้างเงื่อนไข ในการแทนค่าหรือใช้งานค่าตัวแปรผันแปรได้ตามเงื่อนไขต่างๆ แล้วสามารถดึงค่าที่ได้ไปใช้งานตามบล็อกอื่นๆได้ บล็อกนี้มี 5 variable สามารถสร้างได้หลายตัวแปรพร้อมกัน มีฟังชั่นหลักสามารถใช้งานข้อมูล14 แบบในการนำมาออกแบบเงื่อนไขได้หลากหลาย
ตัวอย่าง การใช้งานบล็อกและกำหนดค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้อง การดึงค่าตัวแปรมาใช้งาน ลำดับการประมวลของบล็อก
กลุ่มบล็อกที่มีความสามารถในการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลสองชุด สามารถดึงข้อมูลมาใช้งานครบทั้ง14กลุ่มข้อมูล
Condition (1) บล็อคนี้สามารถเปรียบเทียบ สร้างเงื่อนไข ระหว่างข้อมูล 2 ชุด บล็อกนี้จะมี 2 โหนดเอ้าพุท มักใช้งานแค่เอ้าพุทจริง
Condition(2) บล็อกนี้สามารถเพิ่มโค้ดเอง สำหรับนักพัฒนาที่มีทํกษะโค้ด หรือคัดลอกโค้ดจากAi มาวาง เพื่อนสร้างเงื่อนไขให้ใช้งานได้
Formula เป็นบล็อกการเปรียบเทียบที่ใช้สัญลักษณ์คณิตศาตร์ แล้วผลลับที่ได้จะเก็บในรูปแบบตัวแปรผันแปร สามารถดึงไปใช้งานในบล็อกอื่นๆตามเงื่อนไขที่สร้างไว้
ตัวอย่างการใช้งาน บล็อกนี้คือ ใช้สร้างเพิ่มลอตแบบทวีคูณ
จากรูปตัวอย่าง ออเดอร์แรกจะใช้ลอตไซด์จากตัวแปรผันแปรที่มีค่าตรงกับตัวแปรคงที่ๆประกาศค่าไว้อยู่ในหน้าต่าง on Init ( ย้อนกลับไปดูในส่วนVariable) อยู่ในบล็อก sell เมื่อเงื่อนไขถูกต้องและเปิดออเดอร์ sell ได้ บล็อก Formula ก็จะทำงานเปลี่ยนลอตไซด์ตัวแปรผันแปรเป็นค่าใหม่ แล้วชุดบล็อก sell จุดที่สองจะใช้ลอตไซด์นี้ เมื่อเกิดออเดอร์ที่สอง บล็อก Formula จะทำงานอีกรอบพ่านจุดเชื่อมต่อที่สอง และแก้ไขลอตไซด์ตัวแปรผันแปรใหม่ ลอตไซด์ที่ได้จะขนาดเปลี่ยนใหม่ตามเงื่อนไขของ บล็อก Formula ซ้อนทับไปที่ตัวแปรผันแปรตัวเดิม
“รูปแบบลอตไซด์คือ 0.1 0.2 0.4 0.8 1.6 3.2”
ชุดลำดับการทำงานบล็อกคือ ชุดแรก 5-6-7-8-9-10 ตามด้วยชุดสอง 7-11-12-13-14-15-16-10 เมื่อจบชุดสองคำสั่งเงื่อนไขไม่ได้วนกลับไปเช็คเงื่อนไขชุดแรก แต่ยังทำงานที่ชุดที่สองใหม่ และทำเรื่อยๆๆจนครบเงื่อนไขเช่น เปิดออเดอร์ได้สูงสุด 5 ออเดอร์ก็จะทำงานจนครบ 5 ออเดอร์ถึงจะวนกลับไปเช็คเงื่อนไขของชุดแรก ( ชุดแรกจะทำงาน ต้องปิดออเดอร์ที่เปิดอยู่ทั้งหมดก่อน )
กลุ่มบล็อกที่มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับ อินดิเคเตอร์ มีการเปรียบเทียบต่ออินดิเคเตอร์ตรงๆตัวเดียว
- Indicator is visible บล็อกตรวจสอบว่าตัวบงชี้ที่เลือกปรากฏบนกราฟที่แท่งเทียนบางแท่งหรือหลายแท่ง
- Indicator is invisible บล็อกตรวจสอบว่าตัวบงชี้ที่เลือกไม่ปรากฏบนกราฟที่แท่งเทียนบางแท่งหรือหลายแท่ง
- Indicator appear บล็อกนี้ใช้เพื่อตรวจจับ เมื่อตัวบงชี้ที่เลือกปรากฏให้เห็น (เปลี่ยนจากมองไม่เห็นเป็นมองเห็นได้)
- Indicator disappear บล็อกนี้ใช้เพื่อตรวจจับ เมื่อตัวบงชี้ที่เลือกมองไม่เห็น (เปลี่ยนจากมองเห็นเป็นมองไม่เห็น)
- Indicator rise บล็อกนี้ตรวจจับว่าค่าตัวบงชี้เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของแท่งเทียนหรือไม่ จากกดทดสอบจะได้ลักษณะการเพิ่มของตัวบงชี้ดั่งกราฟตัวอย่าง ส่วนการปรับแต่งเป็นค่าเริ่มต้น
- Indicator fall บล็อกนี้ตรวจจับว่าค่าตัวบงชี้ลดลงในช่วงเวลาหนึ่งของแท่งเทียนหรือไม่ จากการทดสอบจะได้ลักษณะการลดลงของตัวบงชี้ดั่งกราฟตัวอย่าง ส่วนการปรับแต่งเป็นค่าเริ่มต้น
- Indicator moves within limits บล็อกนี้ตรวจจับว่าค่าตัวบ่งชี้อยู่ในกรอบจำกัดบนและ/หรือกรอบจำกัดล่าง ในช่วงแท่งเทียนที่กำหนด จากตัวอย่าง จะใช้งานได้กับอินดิเดเตอร์ที่เหมาะสม
- Price x> Indicator บล็อกนี้ตรวจจับราคา BID ปัจจุบันข้ามเส้นบ่งชี้ด้านบน ( จากด้านล่างขึ้นบน ) ผ่านไปหนึ่งครั้ง ( ครั้งเดียว ) ใช้ได้กับอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ราคาอยู่ด้านล่างเป็นระยะห่างจากเส้นเฉลี่ยตามกำหนด จากตัวอย่างคือ 10 pip เมื่อราคาวิ่งเข้าหาเส้นเฉลี่ยและได้ข้ามขึ้นไปพ่านเส้นเฉลี่ยเงื่อนไขทั้งหมดจะสำเร็จ
- Price x< Indicator บล็อกนี้ตรวจจับราคา BID ปัจจุบันข้ามเส้นบ่งชี้ด้านล่าง ( จากด้านบนลงล่าง ) ผ่านไปหนึ่งครั้ง ( ครั้งเดียว ) ใช้ได้กับอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ราคาอยู่ด้านบนเป็นระยะห่างจากเส้นเฉลี่ยตามที่กำหนด จากตัวอย่างคือ 10 pip เมื่อราคาวิ่งเข้าหาเส้นเฉลี่ยและได้ข้ามลงไปพ่านเส้นเฉลี่ยเงื่อนไขทั้งหมดจะสำเร็จ
กลุ่มบล็อกที่ควบคุม จัดการ กำหนด เวลาได้ เป็นกลุ่มบล็อกที่มี 3 โหนด เอ้าพุท มี 2 ค่า จริง หรือ เท็จ
- Time filter เป็นบล็อกที่ใช้คุมเวลา เป็นช่วงเปิด – ช่วงปิด
- Months filter เป็นบล็อกกลุ่มเวลาทั้ง 12 เดือน ใช้เปิดปิดเดือนนั้นๆ
- Weekday filter เป็นบล็อกกลุ่มเวลาทั้ง 7 วัน ใช้เปิดปิดตามวันที่ต้องการ
- Hours filter เป็นบล็อกใช้เปิดปิด ตามกำหนดเวลา เป็นชั่วโมง
- Minutes filter เป็นบล็อกใช้เปิดปิด ตามกำหนดเวลาเป็นนาที
- Seconds filter เป็นบล็อกใช้เปิดปิด ตามกำหนดเวลาเป็นวินาที
- Once per tick เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลง เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง 1 pip บล็อคเป็นจริง1ครั้ง
- Once per bar เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลงในรูปแบบแท่งเทียน 1 แท่งเทียน บล็อกเป็นจริง หลายครั้ง ( สามารถกำหนดได้ว่า 1 แท่งเทียนได้กี่ครั้ง เริ่มต้นที่ 1 ครั้ง )
- Once a day เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลง เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีฟังชั่นควบคุมเวลาในแต่ละชั่วโมงได้
- Once an hour เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลง เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีฟังชั่นควบคุมเวลาในแต่ละนาทีได้
- Once per minutes เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลง กำหนดเวลาเป็นนาที (ไม่มีกรอบเวลากำหนด)
- Once per seconds เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและราคาที่เปลี่ยนแปลง กำหนดเวลาเป็นวินาที (ไม่มีกรอบเวลากำหนด)
- Once per trades เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและจำนวนออเดอร์ที่เปิด
- Every “n” ticks เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและจำนวนทิกที่เรากำหนดครั้ง
- Every “n” bars เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ จำนวนครั้งและจำนวนแท่งเทียนที่เรากำหนดกี่แท่งเทียน
- Spread Filter เป็นบล็อกที่ใช้กำกับ ค่าธรรมเนียมระหว่างราคาซื้อและราคาขาย กำหนดช่วงความห่างความแคบของราคาทั้งสอง เมื่อเกิดความผันผวนกะทันหันเมื่อไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานของโบรกเกอร์ เพื่อให้ EA และ SC ยังสามารถทำงานได้หรือหยุดทำงาน
กลุ่มบล็อกที่ใช้ตรวจสอบ ออเดอร์ จำนวนออเดอร์ ระยะระหว่างออเดอร์ ต้องเป็นออเดอร์ที่เปิดอยู่ หรือออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า
- Check trades count เป็นบล็อกที่ใช้นับจำนวนออเดอร์ หรือออเดอร์ที่เราต้องการจำกัด
- Check pending order count เป็นบล็อกที่ใช้นับจำนวน ออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า หรือจำกัดออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกันกับ check trades count
- If trade เป็นบล็อกตรวจสอบว่ามีออเดอร์เปิดไหม และสามารถตรวจชนิดของออเดอร์ที่เปิด Buy Sell หรือทั้งสองชนิด ถ้ามีออเดอร์เปิด ค่าที่ได้จะเป็น จริง ตามเงื่อนไขที่เราเซ็ทค่า
- If trade/order เป็นบล็อกตรวจสอบว่ามีออเดอร์เปิดไหม หรือ ออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าไหม ( เพนดิ้งออเดอร์ ) ลักษณะใช้งานเช่นเดียวกันกับ if trade
- If pending order เป็นบล็อกตรวจสอบว่ามี ออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าไหม มีฟังชั่นที่เพิ่มเติมจาก if trade/order
- คือ Limits and Stops เพื่อเจาะจงรายละเอียดของออเดอร์เพนดิ้ง
- No trade เป็นบล็อกตรวจสอบว่ายังไม่มีออเดอร์เปิดอยู่
- No trade/order เป็นบล็อกตรวจสอบว่ายังไม่มีออเดอร์ หรือ ออเดอร์ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า เปิดอยู่
- No pending order เป็นบล็อกตรวจสอบว่ายังไม่มี ออเดอร์ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าเปิดอยู่ มีฟังชั่ง Limits and Stop เพิ่มเติม
- No trade nearby เป็นบล็อกตรวจสอบว่า ระยะระหว่าง ออเดอร์ ไม่มีออเดอร์ไดๆอยู่ใกล้บริเวณ การกำหนดระยะจะคำนวนทั้งสองฝั่งคือ บน และ ล่าง เช่น ตั้งค่า 30 pip จากจุดออเดอร์ที่เปิดอยู่ ด้านบน 15 pip ด้านล่าง 15 pip ต้องไม่มีออเดอร์ไดๆอยู่เลย
- No pending order nearby เป็นบล็อกตรวจสอบว่า ไม่มีออเดอร์ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ( เพนดิ้งออเดอร์ ) อยู่ในบริเวณที่กำหนด
กลุ่มบล็อคที่สามารถเช็คออเดอร์และมีการเปรียบเทียบค่าที่ต้องการ
- Check consecutive losses บล็อกนี้ตรวจเช็ค ออเดอร์ที่ปิดแล้วและออเดอร์นั้นขาดทุนต่อเนื่องกันตามจำนวนเงื่อนไข
- Check consecutive profits บล็อกนี้ตรวจเช็ค ออเดอร์ที่ปิดแล้วและออเดอร์นั้นกำไรต่อเนื่องกันตามจำนวนเงื่อนไข
- Check type (last closed) บล็อกนี้ตรวจเช็ค ออเดอร์ที่ปิดล่าสุดว่าเป็นชนิดอะไร Buy Sell
- Check type (last loser) บล็อกนี้ตรวจเช็ค ออเดอร์ที่ปิดแบบขาดทุน ออเดอร์ล่าสุดว่าเป็นชนิดอะไร Buy Sell
- Check type (last winner) บล็อกนี้ตรวจเช็ค ออเดอร์ที่ปิดแบบกำไร ออเดอร์ล่าสุดว่าเป็นชนิดอะไร Buy Sell
- Check profit (average) บล็อกนี้ตรวจเช็ค ค่าเฉลี่ยกำไรของออเดอร์ที่เปิดอยู่หรือออเดอร์ที่ปิดแล้ว
- Check profit (last closed) บล็อกนี้ตรวจเช็ค กำไรของออเดอร์ที่ปิดไปแล้วตามจำนวนเงื่อนไข
- Check profit (Period of Time) บล็อกนี้ตรวจเช็ค กำไรของออเดอร์ในช่วงเวลาที่กำหนด
- Check profit (unrealized) บล็อกนี้ตรวจเช็ค กำไรออเดอร์ที่เปิดอยู่ สามารถกำหนดขนาดของกำไร หรือขาดทุนได้
- Check distance บล็อกนี้ใช้ในการตรวจสอบความแตกต่างของ ข้อมูลสองข้อมูล
- Check text value บล็อกนี้ใช้ในการตรวจข้อความ กำหนดข้อความ
- Buy / Sell กลุ่มบล็อก คำสั่งซื้อ คำสั่งขาย คำสั่งตั้งค่าซื้อขายล่วงหน้า
- Buy now บล็อกคำสังซื้อขณะนี้ ซึ่งเงื่อนไขครบส่งคำสั่งที่ราคาปัจจุบันทันที มีฟังชั่นให้ใช้งานเยอะมาก
- Buy pending order บล็อกคำสั่งซื้อตั้งค่าล่วงหน้า buy stop เป็นคำสั่งที่ส่งไว้ก่อนราคาปัจจุบันจะไปถึง มีฟังชั่นพิเศษ OCO ให้ใช้งาน
- Buy pending order in grid บล็อกคำสั่งซื้อตั้งค่าล่วงหน้าแบบกลุ่มตามระยะที่กำหนด ตามจำนวนออเดอร์ที่ต้องการ มีฟังชั่นพิเศษสามารถเพิ่มระยะ เพิ่มลอต เพิ่ม SL TP ได้ในแต่ละออเดอร์ถัดไป
- Sell now บล็อกคำสั่งขาย ขณะราคาปัจจุบัน ฟังชั่นใช้งานแบบเดียวกันกับ Buy now
- Sell pending order บล็อกคำสั่งขายตั้งค่าล่วงหน้า sell stop มีฟังชั่นใช้งานแบบเดียวกันกับ Buy pending order
- Sell pending order in grid บล็อกคำสั่งขายตั้งค่าล่วงหน้าแบบกลุ่มตามระยะที่กำหนด มีฟังชั่นแบบเดียวกับ Buy pending order in grid
กลุ่มบล็อกที่ตรวจสอบข้อมูลของ ออเดอร์ และเพนดิ้งออเดอร์ buy sell ข้อมูลที่ได้สามารถเชื่อมโยงกับาบล็อกอื่นๆได้โดยใช้ฟังชั่นเงื่อนไขของบล็อกนั้นๆ เพื่อนดึงข้อมูลของบล็อกนี้ที่เก็บข้อมูลไว้
Bucket of Trades บล็อกที่ตรวจสอบข้อมูลออเดอร์ buy sell ที่เปิดอยู่
ตัวอย่าง คือการใช้งาน บล็อก Bucket of Trades เพื่อดึงข้อมูลจากออเดอร์ที่เปิดอยู่ และเชื่อมต่อกับบล็อก comment เพื่อนแสดงข้อมูลที่ต้องการ
- บล็อค comment เชื่อมต่อและดึงข้อมูลจากบล็อก bucket มาแสดงตามฟังชั่นที่กำหนด
- Bucket of Pending Order บล็อกที่ตรวจสอบข้อมูลเพนดิ้งออเดอร์ buy sell ที่เพนดิ้งไว้อยู่
- Bucket of Closed Trades บล็อกที่ตรวจสอบข้อมูลออเดอร์ buy sell ที่ปิดออเดอร์แล้ว
กลุ่มบล็อกที่ใช้ตรวจสอบ ออเดอร์ เพนดิ้งออเดอร์
- For each Trade บล็อกตรวจสอบออเดอร์ที่เปิดอยู่ สามารถกำหนดออเดอร์ก่อนหลัง หัวท้าย เพื่อนตรวจสอบตามเงื่อนไขที่ต้องการ
- For each Pending Order บล็อกตรวจสอบ เพนดิ้งออเดอร์ที่เปิดอยู่ ฟังชั่นการใช้งานเหมือนกัน
- For each Closed Trade บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์ที่ปิดแล้ว ฟังชั่นการใช้งานเหมือนกัน
- Once per trade/order บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์และเพนดิ้งออเดอร์ เพื่อให้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว
- check stop-loss บล็อกเปรียบเทียบ SL ของออเดอร์ เพื่อกำหนด การขาดทุน
- check take-profit บล็อกเปรียบเทียบ TP ของออเดอร์ เพื่อกำหนด การทำกำไร
- check type บล็อกตรวจสอบ ชนิดของ buy sell
- check age บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์หรือออเดอร์ที่ปิดแล้ว เพื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด หรือกำหนดอายุของออเดอร์
- check group number บล็อกตรวจสอบ กลุ่มมออเดอร์หรือบล็อคต่างๆที่เรากำหนด หมายเลข ตัวอักษร ที่เหมือนกัน เพื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ หรือใช้งานบล็อค ข้อมูล ของกลุ่มเหล่านั้น สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อมีเงื่อนไขกำหนดกลุ่มขึ้นมา จะมีเงื่อนไขที่ไม่มีกลุ่มเสมอในการประมวลผล
- check how it was closed บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์ที่ปิดแล้วว่าปิดแบบไหน SL หรือ TP
- check loss บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์ที่เปิดอยู่ว่า ขาดทุน ซึ่งค่าที่ติดลบจะเป็นจำนวนบวก
- check profit บล็อกตรวจสอบ ออเดอร์ที่เปิดอยู่ กำไร ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- pips away from open-price บล็อกกำหนด กรอบระยะ ของราคาเปิดออเดอร์ที่กำหนด ซึ่งระยะดังกล่าวจะไม่สามารถเกิดออเดอร์ใหม่
- pips away from stop-loss บล็อกกำหนด กรอบระยะ ของราคา SL ของออเดอร์
- pips away from take-profit บล็อกกำหนด กรอบระยะ ของราคา TP ของออเดอร์
- modify stops บล็อกสำหรับแก้ไข SL TP ที่ตำแหน่งใหม่ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- modify expiration บล็อกสำหรับแก้ไข เวลา ของออเดอร์เพนดิ้งที่ตั้งค่าไว้ใหม่
- slide order บล็อกสำหรับ เปรียนตำแหน่ง ของออเดอร์เพนดิ้ง โดยการเพิ่มหรือลด pip
- shrink stop บล็อกสำหรับ ปรับลดขนาดของ SL TP ให้เข้าใกล้ ราคาเปิด ตามระยะที่กำหนดเพื่อควบคุมกำไร ขาดทุน
- extend stop บล็อกสำหรับ ปรับเพิ่มขนาดของ SL TP ให้ออกห่างจาก ราคาเปิด ตามระยที่กำหนดเพื่อควบคุมกำไร ขาดทุน
- add to volume บล็อกสำหรับ ปรับเพิ่มขนาดของ ลอตไซด์ ตามเงื่อนไขออเดอร์ที่กำหนด เนื่องจากไม่สามารถแก้ไข ลอตไซด์ ของออเดอร์ที่เปิดอยู่ได้จึงสร้าง ออเดอร์ใหม่ที่เหมือนเดิม แต่กำหนด ลอตไซด์ ใหม่ ค่าพารามิเตอร์อื่นๆจะเหมือนออเดอร์เดิมทุกอย่าง
- close (partially) บล็อกสำหรับ ปรับลดขนาดของ ลอตไซด์ ตามเงื่อนไขออเดอร์ที่กำหนด ออเดอร์ใหม่ที่ได้ค่าพารามิเตอร์เหมือนเดิม
- close บล็อกสำหรับ ปิด ออเดอร์หรือเพนดิ้งออเดอร์ ทันที
- (loop) break บล็อกสำหรับ สั่ง หยุด การทำงานวนซ้ำๆของ ชุดคำสั่งก่อนหน้า ทันที
- (loop) next บล็อกสำหรับ สั่ง หยุด การทำงานวนซ้ำๆของชุดคำสั่งก่อนหน้า แล้วทำงานต่อทันทีของชุดคำสั่งถัดไป
กลุ่มบล็อกนี้จะใช้ กำกับ กำไร ขาดทุน หรือ ต่อรองกำไร ขาดทุน ให้ยืดหยุ่น เหมาะสมกับความต้องการตามเงื่อนไขต่างๆ
- Breakeven point (each trade) บล็อกนี้ควบคุมการขาดทุนโดยตรวจสอบออเดอร์ที่เปิดอยู่แล้วโมดิฟายออเดอร์นั้นที่ตำแหน่ง SLที่ราคาเปิดให้เท่ากัน การเชื่อมต่อต้องวางบล็อกนี้ไว้ลำดับแรกเท่านั้น
- Trailing stop (each trade) บล็อกนี้เป็นการเลื่อน SL หรือ TP ของออเดอร์ที่เปิดอยู่ โดยโมดิฟายใหม่ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- Trailing stop (group of trades) บล็อกนี้เป็นการเลื่อน SL หรือ TP ของออเดอร์ที่เปิดอยู่ทั้งหมดเป็นกลุ่ม โดยโมดิฟายใหม
- Trailing money loss (group of trades) บล็อกนี้จะติดตามผลกำไรรวมตั้งแต่ 1 ออเดอร์หรือมากว่า แล้วจะจดจำค่ากำไรสูงสุดไว้และปิดออเดอร์ทั้งหมด เมื่อความแตกต่างระหว่าง จำนวนกำไรสูงสุดและจำนวนกำไรปัจจุบันเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนที่กำหนด
- Trailing pending order บล็อกนี้ช่วยรักษาระยะเพนดิ้งออเดอร์ ซึ่งระยะทางนี้จะเป็นค่าบวกหรือลบก็ได้ หากคำสั่งอยู่บนราคาปัจจุบันคำสั่งนั้นจะเป็น Buy Stop และ Sell Limit ถ้าหากคำสั่งนั้นอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน คำสั่งนั้นจะเป็น Buy Limit และ Sell Stop
เป็นกลุ่มบล็อกที่มีแค่ 2 โหนด คือ อินพุท เอ้าพุท เอ้าพุทที่ออกจะเป็นการทำงานที่สำเร็จเท่านั้นถ้าเงื่อนไขฟังชั่นในบล็อคไม่ถูกต้องเอ้าพุทนี้ก็จะไม่สามารถพ่านได้ บล็อกกลุ่มนี้จะล็อคการทำงานกับออเดอร์ที่เปิดอยู่หรือเพนดิ้งออเดอร์
Modifye stops of trades บล็อกนี้จะสามารถแก้ไขปรับแต่ง SL และ TP ของออเดอร์ที่เปิดอยู่ ซึ่งจะทำงานจากออเดอร์เปิดใหม่ล่าสุด ไปออเดอร์สุดท้าย
- Close trades บล็อกนี้ใช้ปิดออเดอร์
- Close losable trades บล็อกนี้ใช้ปิดออเดอร์ที่ขาดทุน จะปิดทีละออเดอร์จากออเดอร์ล่าสุด
- Close profitable trades บล็อกนี้ใช้ปิดออเดอร์ที่กำไร จะปิดทีละออเดอร์จากออเดอร์ล่าสุด
- Close least profitable trade บล็อกนี้ใช้ปิดออเดอร์ในกลุ่มที่เปิดเป็นชุดแบบ basket ออเดอร์ที่กำไรน้อยที่สุดจะถูกปิด
- Close most profitable trade บล็อกนี้ใช้ปิดออเดอร์ในกลุ่มที่เปิดเป็นชุดแบบ basket ออเดอร์ที่กำไรมากที่สุดจะถูกปิด
- Delete pending orders บล็อกนี้ใช้ลบ เพนดิ้งออเดอร์ที่ตั้งค่าไว้ โดยจะลบทีละรายการจากออเดอร์ล่าสุดก่อน
- กลุ่มบล็อกที่ ใช้แสดงข้อมูล เขียนข้อมูล เพิ่ม ลบ บนแผนภูมิ
- Apply Template บล็อกนี้ใช้โหลดเทมเพลตที่มีอยู่ลงในแผนภูมิที่ใช้โหลดโปรแกรมได้
- Modifly chart properties บล็อกนี้ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของแผนภูมิ สามารถทำให้รายละเอียดต่างๆปรากฏหรือซ่อนได้
- Modifly chart colors บล็อกนี้ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนสี ของรูปลักษณ์แผนภูมิ
- Delete objects บล็อกนี้ใช้ล้างวัตถุบนแผนภูมิ ตามค่าเริ่มต้นออบเจ็กต์ทั้งหมดจะถูกล้าง
- Delete objects by type บล็อกนี้ใช้ล้างวัตถุบางอย่างที่เลือกตามประเภทจากหน้าต่างหลักหรือหน้าต่างย่อย
- Chart screen shot บล็อกนี้ใช้ถ่ายภาพหน้าจอของแผนภูมิปัจจุบันและบันทึก
- Draw Arrow บล็อกนี้ใช้เขียนลูกศร
- Draw Button บล็อกนี้ใช้เขียนปุ่ม
- Draw Channel บล็อกนี้ใช้เขียนช่อง เส้น2เส้นขนานกัน
- Draw Edit Field บล็อกนี้ใช้เขียนวัตถุ แก้ไขบนแผนภูมิ
- Draw Event บล็อกนี้ใช้เขียน เหตุการณ์
- Draw Fibonacci บล็อกนี้ใช้เขียน ไฟโบนาซี
- Draw Gann บล็อกนี้ใช้เขียน Gann
- Draw Line บล็อกนี้ใช้เขียน เส้น
- Draw Shape บล็อกนี้ใช้เขียน เส้นเฉียง
- Draw Text บล็อกนี้ใช้เขียน ข้อความ
- (Re)draw trades on chart บล็อกนี้ใช้เขียนลูกศรกำกับออเดอร์ที่เปิดอยู่ และออเดอร์ที่ปิดไปแล้ว
- กลุ่มบล็อกที่ ใช้แสดงข้อมูล เขียนข้อมูล เพิ่ม ลบ บนแผนภูมิ
- Apply Template บล็อกนี้ใช้โหลดเทมเพลตที่มีอยู่ลงในแผนภูมิที่ใช้โหลดโปรแกรมได้
- Modifly chart properties บล็อกนี้ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของแผนภูมิ สามารถทำให้รายละเอียดต่างๆปรากฏหรือซ่อนได้
- Modifly chart colors บล็อกนี้ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนสี ของรูปลักษณ์แผนภูมิ
- Delete objects บล็อกนี้ใช้ล้างวัตถุบนแผนภูมิ ตามค่าเริ่มต้นออบเจ็กต์ทั้งหมดจะถูกล้าง
- Delete objects by type บล็อกนี้ใช้ล้างวัตถุบางอย่างที่เลือกตามประเภทจากหน้าต่างหลักหรือหน้าต่างย่อย
- Chart screen shot บล็อกนี้ใช้ถ่ายภาพหน้าจอของแผนภูมิปัจจุบันและบันทึก
- Draw Arrow บล็อกนี้ใช้เขียนลูกศร
- Draw Button บล็อกนี้ใช้เขียนปุ่ม
- Draw Channel บล็อกนี้ใช้เขียนช่อง เส้น2เส้นขนานกัน
- Draw Edit Field บล็อกนี้ใช้เขียนวัตถุ แก้ไขบนแผนภูมิ
- Draw Event บล็อกนี้ใช้เขียน เหตุการณ์
- Draw Fibonacci บล็อกนี้ใช้เขียน ไฟโบนาซี
- Draw Gann บล็อกนี้ใช้เขียน Gann
- Draw Line บล็อกนี้ใช้เขียน เส้น
- Draw Shape บล็อกนี้ใช้เขียน เส้นเฉียง
- Draw Text บล็อกนี้ใช้เขียน ข้อความ
- (Re)draw trades on chart บล็อกนี้ใช้เขียนลูกศรกำกับออเดอร์ที่เปิดอยู่ และออเดอร์ที่ปิดไปแล้ว
กลุ่มบล็อกแสดงผล การแจ้งเตือน การสื่อสารต่างๆ
- Alert message บล็อกนี้ใช้แจ้งเตือนข้อความ สามารถเลือกพล็อตข้อมูลได้สูงสุด 10 แถว
- Blink the chart บล็อกนี้ใช้ทำให้แผนภูมิหลักกะพริบโดยเปลี่ยนสีพื้นหลัง สักสองสามครั้ง
- Comment (ugly) บล็อกนี้ใช้ลงข้อความที่มุมซ้ายบนของแผนภูมิ สามารถพล็อตข้อมูลได้สูงสุด 20 แถว
- Comment บล็อกนี้ใช้เพื่อพิมพ์ข้อมูลต่างๆบนแผนภูมิ สามารถพิมพ์ชื่อหลักได้หนึ่งชื่อ และข้อมูลคู่อื่นได้สูงสุด 8 แถว
- Log message บล็อกนี้ใช้พิมพ์ข้อความลงในแท็บ
- Phone Notification บล็อกนี้ใช้เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยัง Meta Trader 4 บนสมาร์ทโฟน
- Play sound บล็อกนี้ใช้เพื่อเล่นเสียง ที่กำหนดไว้
- Prompt บล็อกนี้ใช้เพื่อแจ้งเตือนข้อความที่จะรอการยืนยันด้วยตนเอง
- Send e-mail บล็อกนี้ใช้เพื่อแจ้งข้อความไปยัง e-mail
- Send file to FTP บล็อกนี้ใช้เพื่อส่งไฟล์ที่ต้องการไปยังเซิร์ฟเวอร์ FTP
- Send HTTP request บล็อกนี้ใช้ส่งข้อความไปยังเซิฟเวอร์และต้องรอข้อความส่งกลับเพื่อยืนยัน
- Terminal variables บล็อกนี้ใช้เชื่อมต่อกับตัวแปรส่วนกลางของ Terminal Client สามารถเข้าถึงได้พร้อมกันจากโปรแกรม MQL4
- Trace บล็อกนี้ใช้เพื่อพิมพ์ค่าที่เปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกเป็นเส้นแผนภูมิบนแผนภูมิหลัก
- Trace Activity บล็อกนี้ใช้เชื่อมต่อหลังบล็อกอื่น จะสามารถเป็นบนกราฟถึงสถาณะของเส้นว่าใช้งานอยู่เมื่อใด นานเท่าใด
- Write to file บล็อกนี้ใช้เพื่อเขียนข้อมูลในตาราง ที่สามารถใช้ภายหลังด้วย Excel ใช้เป็นสถิติได้
กลุ่มบล็อกสัญญาณต่างๆ ของ อินดิเคเตอร์ ที่เซ็ตค่ามาให้แล้ว แต่ก็สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ
- Bull candle บล็อกสัญญาณของแท่งเทียนแท่งสุดท้ายเป็นกระทิง (แท่งเขียว)
- Bear candle บล็อกสัญญาณของแท่งเทียนแท่งสุดท้ายเป็นหมี (แท่งแดง)
- Bulls in a row บล็อกนี้ใช้ตรวจจับแท่งเทียนกระทิง เป็นชุดในแถวๆหนี่งตามจำนวนแท่งที่ต้องากร จะตรวจทีละอัน
- Bear in a row บล็อกนี้ใช้ตรวจจับแท่งเทียนหมี เป็นชุดในแถวๆหนึ่งตามจำนวนแท่งที่ต้องการ จะตรวจทีละอัน
- Single candle template บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบแท่งเทียนทีละอัน โดยกำหนดความละเอียดของ ไส้เทียนบน ไส้เทียนล่าง ตัวเทียนได้เป็นเปอเซ็นต์
- MACD Divergence (Bearish) บล็อก สัญญาณ เอมเอซีดี ไดเวอร์เจน เทรนหมี เมื่อตรวจเจอสัญญาณก็พ่านได้
- MACD Divergence (Bullish) บล็อก สัญญาณ เอมเอซีดี ไดเวอร์เจน เทรนกระทิง เมื่อตรวจเจอสัญญาณก็พ่านได้
- Impulse Up บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของแท่งเทียนกระทิงที่ใหญ่กว่าแท่งเทียนที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มแท่งเทียนที่กำหนด
- Impulse Down บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของแท่งเทียนหมีที่ใหญ่กว่าแท่งเทียนที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มแท่งเทียนที่กำหนด
- Time Bomb Up บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของราคาและเวลาที่ใช้ ในแนวโน้มขาขึ้น
- Time Bomb Down บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของราคาและเวลาที่ใช้ในแนวโน้มขาลง
- New top in trend บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของแท่งเทียนเมื่อราคาถึงจุดสูงสุดในกลุ่มแท่งเทียนที่กำหนด
- New bottom in trend บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของแท่งเทียนเมื่อราคาถึงจุดต่ำสุดในกลุ่มแท่งเทียนที่กำหนด
- Round numbers detector บล็อกนี้ให้สัญญาณการเปรียบเทียบ ของกรอบราคาที่กำหนดไว้
กลุ่มบล็อกที่ใช้ควบคุมทิศทาง รวมเงื่อนไข เปิดปิด การเชื่อมต่อแบบต่างๆ
- And บล็อกใช้รวมเชื่อมเงื่อนไขต่างๆ ให้อยู่ชุดเดียวกัน จะผ่านได้ต่อเมื่อเงื่อนไขที่บล็อกผ่านแล้วเท่านั้น
- OR บล็อกให้พ่านเงื่อนไขที่พ่านอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ชุดเงื่อนไขใดผ่านก็ให้ผ่านเลยและผ่านซ้ำได้ทุกเมื่อ โดยไม่สนใจเงื่อนไขอื่นเลย
- Run blocks บล็อกนี้สามารถทำให้บล็อกอื่นที่ระบุ ไอดี หรือชื่อ ทำงานได้ทันทีไม่ว่าบล็อกนั้นจะเชื่อมอยู่จุดไหนก็ตาม
- Turn ON blocks บล็อกนี้สามารถทำให้บล็อกที่ถูกปิดการทำงาน เปิดทำงานต่อได้ โดยระบุ ไอดี ชื่อ
- Turn OFF blocks บล็อกนี้สามารถทำให้บล็อกที่ทำงานอยู่ ปิดการทำงาน โดยระบุ ไอดี ชื่อ
- Toggle blocks บล็อกนี้สามารถทำให้บล็อกที่ทำงานอยู่ปิดการทำงาน หรือ บล็อกที่ปิดการทำงานอยู่เปิดการทำงานได้ (เปลี่ยนคำสั่งของบล็อกขณะปัจจุบันให้ทำงานตรงกันข้าม)
- Set “Current Market” for next blocks บล็อกนี้ใช้กำหนดคู่เงินที่กำหนดในบล็อกถัดไป
- Set “Current Timeframe” for next blocks บล็อกนี้ใช้กำหนดเวลาของแผนภูมิในบล็อกถัดไป
- Skip Ticks บล็อกนี้ใช้กำหนดเวลาในการข้ามการทำงานตาม tick ราคาที่เปลี่ยนแปลง
กลุ่มบล็อกที่ใช้ควบคุมกลุ่มของบล็อกอื่นๆ โดยมีชื่อกำกับ ( ธงกำกับกลุ่มของบล็อก จำแนกเป็นพวกๆ)
- Set Flag (textual) บล็อกนี้ใช้ควบคุมกลุ่มของบล็อกเมื่อจำเป็น และกำหนดชื่อ ค่าข้อความกำกับ
- Check Flag (textual) บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบว่า ค่าของธงข้อความบางค่าคืออะไร
- Set Flag (numeric) บล็อกนี้ใช้ควบคุมกลุ่มของบล็อกเมื่อจำเป็น และกำหนดชื่อ ค่าตัวเลขกำกับ
- Set Flag (true-false) บล็อกนี้ใช้ควบคุมกลุ่มของบล็อกเมื่อจำเป็น และกำหนดชื่อ ค่าความจริงหรือเท็จกำกับ
- Set Flag (true-false) บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบว่า ค่าของธงนั้น เป็นค่า จริง หรือ เท็จ
กลุ่มบล็อกที่ใช้ควบคุมรอบการทำงานของโปรแกรม หรือจำกัดรอบการทำงานของโปรแกรม
- Counter: Pass one บล็อกนี้สามารถให้พ่านได้ 1 รอบการทำงานของโปรแกรม
- Counter: Pass “n” times บล็อกนี้สามารถให้พ่านได้ตามจำนวนที่กำหนด รอบการทำงานของโปรแกรมก็สามารถทำงานตามรอบที่ตั้งค่า
- Counter: Count “n”, then pass บล็อกนี้ไม่ให้พ่านตามจำนวนที่กำหนดถึงจะพ่านได้
- Counter: Reset บล็อกนี้ใช้รีเซ็ต การทำงานของ บล็อก Counter อื่นๆที่ตั้งค่าไว้ โดยต้องเซ็ตค่าไอดีให้ตรงกัน และสามารถรีเซ็ตได้หลายๆบล็อกพร้อมกัน
- Loop (pass “n” times) บล็อกนี้ใช้กำหนดว่าบล็อกถัดไปทำงานต่อได้ตามจำนวนที่เซ็ตค่า
กลุ่มบล็อกที่ใช้งานต่างจากกลุ่มจำเพาะอื่นๆๆ
- Pass บล็อกนี้สามารถให้พ่านได้เลย ไม่มีเงื่อนไขใดๆ เป็นบล็อกพื้นฐานเพื่อจับคู่บล็อกที่ทำงานเดี่ยวๆ
- Random outputs บล็อกนี้สามารถ สุ่ม Output เมื่อจับคู่กับบล็อกอื่นๆ
- Delay บล็อกนี้ใช้ควบคุมเวลา ตามกำหนด (วินาที) เพื่อให้เกิดผลกับเวลาตามปัจจุบัน ตามที่เซ็ตค่าไว้
- Terminate บล็อกนี้ใช้หยุดการทำงานทั้งหมด EA SC จนกว่าจะมีการรีสตาร์ท
- If Demo account บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบว่าเป็น บัญชีแบบทดสอบหรือไม่
- If Real account บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบว่าเป็น บัญชีแบบลงทุนจริงหรือไม่
- If Testing บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบว่าเป็นการทดสอบหรือไม่
- Terminal Connected บล็อกนี้ใช้ตรวจสอบการเชื่อต่อของ Meta Trader หรือไม่
- Custom MQL code บล็อกนี้อนุญาตให้รันโค้ดที่สร้างเองได้
FOREXDUCK (นามปากกา) นักเขียนของเรามีประสบการณ์การเงินการลงทุนกว่า 10 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด Forex และคริปโต โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงเทคนิคต่าง